MV มังกรหยกภาคใหม่ที่จะลงจอปีหน้าค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เล่าปี่

เล่าปี่มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 161-223 เป็นจักรพรรดิผู้ก่อตั้งจ๊กก๊ก เขา สืบเชื้อสายมาจากจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่น แต่เมื่อเปลี่ยนแผ่นดิน แม่ของเขาได้ออกมาใช้ชีวิตอย่างสันโดษอยู่นอกเมือ เมื่ออายุได้ 28 ปี ได้ร่วมสาบานเป็นพี่น้องกับ กวนอู และเตียวหุย เพื่อปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง โดยเป็นพี่ชายคนโต นิสัยมีน้ำใจดีงาม เป็นที่รักใคร่แก่คนทั่วไป ใช้กระบี่คู่เป็นอาวุธคู่กาย ต่อมาเล่าปี่ได้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋ว แต่หลังจากเสียเมืองก็ต้องระหกระเหเร่ร่อน ไปขออาศัยเมืองต่างๆอยู่ จนสุดท้ายไปอาศัยอยู่ที่เมืองเกงจิ๋วของเล่าเปียว และได้ขงเบ้งเป็นที่ปรึกษา จึงได้เริ่มฟื้นตัวเพื่อกอบกู้ ราชวงศ์ฮั่นอีกครั้ง โดยร่วมมือกับซุนกวนแห่งง่อก๊ก ปราบปรามกองทัพมหาศาลของโจโฉในศึกผาแดง
จำได้หรือไม่ ? ยู่หยาง คือนักแสดงที่ชอบรับบทเป็นตำรวจฝ่ายดีที่มีผลงานมากมายในภาพยนตร์ฮ่องกงยุคหลัง

ขงเบ้ง

บุรุษเพียงหนึ่งเดียวผู้หยั่งรู้โชคชะตาแห่งแผ่นดิน
“แผ่นดินจีนจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน เหนือคือ โจโฉ ใต้ คือซุนกวน ส่วน เกงจิ๋ว และ เสฉวน จะเป็นของท่าน เล่าปี่ "
ขงเบ้ง
คือ นักปราชญ์ที่ใช้ชีวิตอย่างสันโดษ ถึงจะเป็นที่ต้องการตัวจากแม่ทัพทั่วแผ่นดินให้ไปเป็นที่ปรึกษา ขงเบ้งก็ไม่เคยปลงใจไปอยู่กับใคร จนวันหนึ่ง เล่าปี่ แสดงความจริงใจด้วยการมาคุกเข่ารอพบถึง 3 ครั้ง ขงเบ้งจึงยอมทิ้งชีวิต สันโดษมาบัญชาการศึก
อุปนิสัย สุขุม เจ้าแผนการ
ศัตรูและมิตรแท้ ในชีวิตของขงเบ้ง ไม่มีมิตรแท้ และ ศัตรูถาวร และ นั้นคือความโดดเดี่ยวเดียว ของบุรุษผู้หยั่งรู้โชคชะตา แห่งแผ่นดิน

จิวยี่

ขุนศึกผู้อยู่เบื้องหลังบังลังก์ แห่งเมืองกังตั๋ง “เมื่อฟ้าส่งข้ามาเกิดแล้ว เหตุไฉนจึงส่งขงเบ้งมาเกิดด้วย"
จิวยี่
คือ ขุนศึกผู้สง่างามผู้นำกองทัพเรือ และ เป็นขุนพลที่ได้ชื่อว่าเชี่ยวชาญศึกทางน้ำที่สุดและ มีมันสมองอันปราดเปรื่อง ที่สุดในดินแดนทางใต้
อุปนิสัย ซื่อสัตย์ต่อนายคนเดียว เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ แต่ไม่ค่อยไว้ใจใคร
ศัตรูและมิตรแท้ จิวยี่ นับถือ ซุนกวน เป็นทั้งมิตรแท้ นายเพียงคนเดียว และ สหายผู้รู้ใจ ที่เขาพร้อมจะทำทุกอย่าง เพื่อความเกรียงไกร ของตระกลูซุน ในขณะที่ ขงเบ้ง เป็นเหมือน คู่กัด ที่สักวันพวกเขาจะต้องยืนอยู่คนละฝ่าย ของสนามรบ หลายครั้งที่แผนการศึกของจิวยี่ ถูกนำไปเปรียบกับการวางแผนของ ขงเบ้ง แต่เมื่อเขาจำต้องร่วมมือกันต้านศึกโจโฉ พวกเขาก็สามารถจับมือร่วมเป็นพันธมิตรกัน

ง่อก๊ก ปกครองโดยซุนกวน

“ง่อก๊ก ( Wu ) เรืองอำนาจ ช่วง ปี 221 -265 ก่อตั้งโดย “ซุนกวน” มีอำนาจอยู่ทาง ตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศจีนปัจจุบัน แถบปากแม่น้ำแยงซีเกียง
กุนซือของซุนกวน คือ “จิวยี่” และ “ โลซก” ขุนศึกคู่ใจ “ จิวยี่ ” , “ กำเหลง ” , “ อุยกาย ”
ง่อก๊ก (จีนตัวเต็ม ?? พินอิน d?ng w? ภาษาอังกฤษ Eastern Wu) เป็นหนึ่งในอาณาจักรยุคสามก๊กของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณดินแดนเจียงหนัน แถบปากแม่น้ำแยงซีเกียง เมืองหลวงของง่อก๊กคือบริเวณเมืองนานกิงในปัจจุบัน ง่อก๊กดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 222 - ค.ศ. 280 เป็นหนึ่งในสามก๊กที่ตั้งประชันกันหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น (อีกสองก๊กคือ วุยก๊ก ทางเหนือ และ จ๊กก๊ก ทางตะวันตก) ง่อก๊กซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นำโดยซุนกวน ซึ่งเป็นผู้นำตระกูลซุนโดยสืบทอดตำแหน่งมาจากซุนเซ็กพี่ชาย ซุนกวนไม่ได้มีความตั้งใจจะเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่เช่นเดียวกับผู้นำอีกสองก๊ก แต่เนื่องจากทั้งโจผีและเล่าปี่ต่างตั้งตัวเป็นกษัตริย์ ซุนกวนจึงประกาศตามใน ค.ศ. 229 ง่อก๊กในยุคสามก๊ก เป็นก๊กที่มีสภาพเศรษฐกิจดี เนื่องจากมีชัยภูมิดีเหมาะกับการค้าขายทางน้ำ สินค้าของง่อก๊กที่เป็นที่รู้จักดี คือ ผ้าไหม และเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งตระกูลซุนเอง ก็เป็นตระกูลพ่อค้าด้วย ง่อก๊กถึงจุดสิ้นสุดโดยการโจมตีจากสุมาเอี๋ยน จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์จิ้น เมื่อ ค.ศ. 280 โดยเป็นก๊กที่มีอายุยาวที่สุดในบรรดาสามก๊ก เชื่อกันว่า คนจีนไปถึงเกาะไต้หวันครั้งแรกในยุคของง่อก๊ก

จ๊กก๊ก ปกครองโดยเล่าปี่

“ พี่น้องเหมือนกับแขนขา ลูกเมียก็เหมือนเสื้อผ้า .. “
” จ๊กก๊ก ( Shu ) เรืองอำนาจ ช่วง ปี 219 -265
ก่อตั้งโดย “เล่าปี่” มีอำนาจอยู่ทาง ตะวันตก ของประเทศจีน
กุนซือของเล่าปี่ คือ “ขงเบ้ง”ขุนศึกคู่ใจ “ กวนอู ” , “ เตียวหุย ” , “ จูล่ง ”

จ๊กก๊ก (จีนแบบเต็ม สู่ฮั่น ?? หรือ สู่ ?; พินอิน Sh? H?n) เป็นอาณาจักรหนึ่งในยุคสามก๊กของประเทศจีน ก่อตั้งหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น มีช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 221 – 263 มีอาณาบริเวณอยู่แถบมณฑลเสฉวนในปัจจุบัน อีกสองอาณาจักรคือวุยก๊ก ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือ และง่อก๊กทางตะวันออกเฉียงใต้ จ๊กก๊กก่อตั้งโดยเล่าปี่ซึ่งสืบเชื้อสายห่างๆ มาจากกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น ผู้ที่แนะนำให้เล่าปี่ตั้งตัวเป็นอิสระคือที่ปรึกษาขงเบ้ง (ยุทธศาสตร์แบ่งแผ่นดินเป็นสาม) ในช่วงแรกเล่าปี่ยังไม่ได้ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ แต่หลังจากโจผีสืบทอดอำนาจวุยก๊กจากโจโฉและตั้งตัวเป็นกษัตริย์ เล่าปี่จึงประกาศตัวเป็นกษัตริย์ฮั่นองค์ถัดไป เนื่องจากสงคราม ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จ๊กก๊กจึงอ่อนแอลงในช่วงหลัง และโดนวุยก๊กกลืนไปใน ค.ศ. 263

วุยก๊ก ปกครองโดยโจโฉ

“ ข้ายอมทรยศคนทั้งแผ่นดิน .... แต่ไม่ยอมให้แผ่นดินต้องทรยศข้า “
“ โจโฉ ” วุยก๊ก (Wei) เรืองอำนาจ ช่วง ปี 216 -265ก่อตั้งโดย “โจโฉ” มีอำนาจอยู่ทาง ตอนเหนือและตอนกลาง ของประเทศจีนปัจจุบัน นับเป็นดินแดนที่รุ่งเรืองที่สุดในยุคสามก๊ก
กุนซือของโจโฉ คือ “ซุนฮิว”, “เทียหยก” ขุนศึกคู่ใจ “แฮหัวตุ้น” , “ เคาทู ” , “ ซิหลง “
วุยก๊ก (จีนตัวเต็ม ? พินอิน c?o w?i ภาษาอังกฤษ Cao Wei) เป็นหนึ่งในอาณาจักรยุคสามก๊กของประเทศจีน ก่อตั้งโดยโจโฉ โดยมีอำนาจอยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของประเทศจีนปัจจุบัน เรียกตัวเองว่า 'วุย' หรือ 'เว่ย' ซึ่งนักประวัติศาสตร์นิยมเรียก Cao Wei เพื่อบ่งบอกว่าเป็นแคว้นเว่ยในยุคของโจโฉ (Cao มาจากของแซ่ของโจโฉในภาษาอังกฤษ) โจโฉเป็นขุนศึกที่เติบโตขึ้นมาในช่วงสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น โดยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดิฮั่นองค์สุดท้าย ในช่วงนั้น แผ่นดินทางใต้ของประเทศจีนได้แยกตัวเป็นอิสระอีก 2 ก๊ก ได้แก่ จ๊กก๊ก ของ เล่าปี่ และ ง่อก๊ก ของ ซุนกวน สร้างสภาพ 3 อาณาจักรตั้งประชันกัน อย่างไรก็ตามโจโฉไม่ได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ โดยวุยก๊กเริ่มนับจากการประกาศตัวเป็นกษัตริย์ของโจผี ลูกชายของโจโฉ ในปี ค.ศ. 220 วุยก๊กรบชนะจ๊กก๊กได้ใน ค.ศ. 263 แต่หลังจากนั้นไม่นาน ค.ศ. 265 ผู้สำเร็จราชการสุมาอี้ได้ล้มล้างวุยก๊ก และตั้งราชวงศ์จิ้น ขึ้น เมืองหลวงของวุยก๊กคือ ลกเอี๋ยง ซึ่งก็คือเมืองหลวงอย่างแท้จริงในยุคนั้นด้วย (ปัจจุบันคือ ลั่วหยาง)

สามก๊ก ตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๋า

ครั้นเวลาประมาณสามยาม เล่าปี่ได้ยินเสียงคนโห่ร้องอื้ออึงคะนึงมาทางทิศเหนือ ดังหนึ่งแผ่นดินจะถล่ม ก็ตกใจ จึงขึ้นม้าคุมทหารสองพันยกออกไปพบทัพโจโฉยกตามมา เล่าปี่ก็ ขับทหารเข้าสู้รบกันเป็นสามารถ ทหารโจโฉก็ล้อมเล่าปี่เข้าไว้เตียวหุยเห็นว่าเล่าปี่เข้าอยู่ใน กลางทหารของโจโฉดังนั้น ก็ตีฝ่าทหารเข้าไปช่วยเล่าปี่ เล่าปี่ได้ทีดังนั้นก็รบหักตามเตียวหุยออกมาด้านตะวันออก พอบุนเพ่งคุมทหารมาก้าวสกัดหน้าไว้ เล่าปี่จึงขับม้าขึ้นหน้าร้องด่าบุนเพ่งว่าอ้ายทรยศต่อเจ้า ยังมีหน้ามาเข้ากับโจโฉอีกเล่า บุนเพ่งได้ยินดังนั้นก็มีความอายไม่อาจรอหน้าเล่าปี่อยู่ได้ ก็คุมทหารบากหนีไป
ฝ่ายทหารโจโฉได้ทีดังนั้นก็ไล่ติดตามเล่าปี่มา เล่าปี่และเตียวหุยสองคนพี่น้องก็ช่วยกันรบพุ่ง ต้านทานรอมาจนเวลารุ่งสว่างขึ้น ครั้นทหารโจโฉห่างออกไปไกลแล้วก็หยุดพักทหารอยู่ เห็นทหารเหลือตามมาด้วยนั้นประมาณร้อยหนึ่ง และครอบครัวอพยพ ของตัวแลอาณาประชาราษฎรทั้งปวงกระจัด พลัดพรายกันไป เล่าปี่ก็ร้องไห้ ว่าคนทั้งหลายมาพลอยฉิบหายล้มตายเพราะเราผู้เดียว ทั้งบุตรภรรยาครอบครัวของเราจะตายอยู่ที่แห่งใดก็มิได้เห็นแก่ตาและเมื่อเล่าปี่ลงนั่งหยุดร้องไห้อยู่นั้น พอบิฮองต้องอาวุธบาดเจ็บเป็นหลายแห่ง ตั้วนั้นโทรมไปด้วยโลหิต วิ่งเข้ามาบอกว่าบัดนี้จูล่งเอาใจออกห่างไปเข้าด้วยโจโฉแล้ว เล่าปี่ได้ยินดังนั้นตวาดเอาบิฮองว่า ท่านนี้หาความพิเคราะห์มิได้ อันจูล่งนี้มีความสัตย์ซื่อรักใคร่เราเป็นอันมาก ซึ่งจะไปอยู่ด้วยโจโฉนั้นอย่าสงสัยเลย
เตียวหุยจึงว่า แต่ก่อนเขาเห็นหน้าพอจะเป็นที่พำนักได้ และบัดนี้เราพี่น้องถึงอับจนแล้ว เขาจึงเอาใจออกห่างกระมัง เล่าปี่จึงว่าน้ำใจจูล่งนั้นสัตย์ซื่อแน่นอนนัก จงคิดดูเมื่อครั้น กวนอู ไปอยู่ด้วยโจโฉออกฆ่างันเหลียงบุนทิวเสีย เจ้าก็สงสัยว่าพี่เอาใจออกห่างไปอยู่ด้วยโจโฉ จนถึงจะฆ่ากันเสีย แลครั้งนี้ถึงมาตรว่าจูล่งจะไปอยู่ด้วยโจโฉจริง ดีร้ายจะมีเหตุผลจึงไป อันจูล่งนั้นเห็นจะไม่ทิ้ง พี่เสียเป็นมั่นคง เตียวหุยไม่เชื่อมีความโกรธนัก จึงคุมทหารม้ายี่สิบรีบกลับไปจะให้พบจูล่ง ครั้นถึงต้นสะพานเตียงปันเกี้ยว จึงเห็นป่าอันหนึ่งอยู่ข้างทิศตะวันออก ก็พาทหารเข้าไป จึงตัดกิ่งไม้มาผูกหางม้าเข้าแล้วสั่งว่า ถ้าเห็นกองทัพโจโฉยกมา จงตีม้าให้วิ่งวกเวียนไปในป่าให้ผงคลีฟุ้งตลบขึ้น กองทัพโจโฉไม่รู้ก็จะสำคัญว่าซุ่มคนอยู่ในป่าเป็นอันมาก เตียวหุยสั่งทหารดังนั้นแล้วก็ขับม้ายืนถือทวนสกัดอยู่ต้นสะพาน
ฝ่ายจูล่งเข้ารบตะลุมบอนอยู่ในกลางกองทัพโจโฉ ตีตลบออกมาแล้วกลับตีหักเข้าไปเสาะหาเล่าปี่และครอบครัวทั้งปวงมิได้พบ ก็ตีตลบเข้าออกวุ่นวายอยู่แต่เวลายามหนึ่งจนรุ่งสว่างขึ้น จูล่งจึงคิดว่าจะ เสาะหาเล่าปี่ก็มิพบ ทั้งครอบครัวก็หายไปจะเป็นประการใด มิได้รู้และเล่าปี่ปลงธุระไว้แก่เราให้รักษาบุตรภรรยา มาให้หายเสียในท่ามกลางกองทัพฉะนี้ดูมิบังควรนัก จำจะอุตส่าห์ฝ่าฝันเข้าไปหาครอบครัวให้จงได้ ถึงมาตรว่าจะตายในท่ามกลางสงครามก็ตามเถิด แม้มิได้ครอบครัวเล่าปี่จะเอาหน้าไปไว้แห่งใด จูล่งคิดดังนั้นแล้ว ก็ขับม้าฝ่าเข้าไปท่ามกลางทหารโจโฉกับทหารประมาณสามสิบม้า เห็นชาวเมืองทั้งปวงถูกอาวุธบาดเจ็บเป็นอันมาก และเสียงร้องไห้อื้ออึงคะนึงไป จูล่งก็ขับม้าเวียนหาครอบครัวของเล่าปี่พบกันหยงถูกอาวุธลำบากนอนซมอยู่ในกอหญ้า จูล่งจึงถามว่าท่านยังพบนางกำฮูหยินนางบิฮูหยินทั้งสองบ้างหรือ กันหยงจึงบอกว่าบัดนี้ท่านทั้งสองเห็นกองทัพโจโฉจวนจะทันเข้า ก็ลงจากเกวียนอุ้มบุตรหนีปนระวนไปกับชาวเมืองทั้งปวง ข้าพเจ้าจึงควบม้าตามไป พอถึงเชิงเขา ทหารโจโฉคนหนึ่งเอาทวนแทงถูกข้าพเจ้าตกม้าลงแล้วชิงเอาม้าไป ข้าพเจ้าเจ็บลำบากเดินไม่ได้จึงหนีซ่อนอยู่ จูล่งให้ทหารคนหนึ่งลงเสียจากม้า ให้อุ้มกันหยงขึ้นขี่ม้าแล้วจึงบอกว่าท่านรีบออกไปเถิด ถ้าพบเล่าปี่นายเราจงบอกว่าบัดนี้นางกำฮูหยินพลัดไปยังหาพบตัวไม่ เราจะสืบเสาะหาให้จงได้จึงจะกลับไป ถ้าเรามิได้นางกำฮูหยินแม้จะเป็นตายประการใดก็มิได้คิดชีวิต จูล่งส่งแล้วก็ควบม้าไป

พอได้ยินเสียงทหารคนหนึ่งร้องทักออกมาว่า จูล่งจะรีบขับม้าไปแห่งใด จูล่งได้ยินดังนั้นก็ชักม้าหยุดไว้ แล้วถามว่าท่านนี้ผู้ใด ทหารนั้นจึงบอกว่าข้าพเจ้าเป็นคนขับเกวียนของนางกำฮูหยิน ถูกเกาทัณฑ์ป่วยไปมิได้ จูล่งจึงถามว่านางไปอยู่แห่งใด ทหารจึงบอกว่าบัดนี้นางหนีปนไปกับชาวเมืองข้างทิศใต้ จูล่งได้ฟังดังนั้นก็ทิ้งทหารทั้งปวงเสีย ขับม้ารีบตามไปแต่ผู้เดียว พอพบชาวเมืองทั้งสองหนีซุ่มอยู่เหล่าหนึ่ง จึงถามว่านางกำฮูหยินอยู่ในพวกนี้ด้วยหรือ
นางกำฮูหยินได้ยินดังนั้น แลมาเห็นจูล่งก็ค่อยคลายใจ จึงร้องบอกไปว่า ข้าพเจ้าอยู่นี่ ท่านจงช่วยชีวิตไว้ให้รอด แล้วก็ร้องไห้ จูล่งโจนลงจากหลังม้าขมีขมันเข้าไปหาแล้วจึงว่า ซึ่งข้าพเจ้ามิได้ระวังระวังท่าน และให้ได้ความลำบากนั้นโทษข้าพเจ้าผิดนักหนาแล้ว บัดนี้นางบิฮูหยินกับอาเต๊าผู้บุตรนั้นไปอยู่แห่งใดเล่า นางกำฮูหยินจึงบอกว่า ขณะเมื่อลงจากเกวียนเข้าไปปนระวนกับชาวเมืองนั้นมาด้วยกัน ครั้นทหารโจโฉไล่ตีเข้ามาภายหลัง ต่างคนต่างแตกกระจัดกระจายไปมิรู้ว่าจะไปแห่งใดเลย
เมื่อพูดอยู่นั้น พอทหารโจโฉกองหนึ่งไล่ขับครอบครัวเข้ามา จูล่งได้ยินเสียงร้องไห้อื้ออึงคะนึงขึ้น จูล่งตกใจโดดขึ้นหลังม้า ขมีขมันแลไปเห็นอิโตคุมทหารกองหนึ่งประมาณพันเศษ จับได้บิต๊กมัดมือคุมมาบนหลังม้า ก็ขับม้าควบเข้าไปตวาดด้วยเสียงอันดัง จะรบด้วยอิโต อิโตขับม้าเข้ารบด้วยจูล่งไม่ทันได้เพลงหนึ่ง จูล่งเอาทวนแทงถูกอิโตตกม้าตายแล้วก็แก้มัดบิต๊กเสีย ชิงได้ม้าทหารสองตัว จึงให้บิต๊กและนางกำฮูหยินขี่ม้าพาออกมาส่งถึงต้นสะพาน
เตียวหุยแลเห็นจูล่งมาดังนั้นร้องว่า เหตุใดจูล่งจึงเอาใจออกห่างพี่เราไปเข้าด้วยโจโฉ จูล่งจึงร้องว่า ท่านอย่าว่าดังนั้น ซึ่งตัวเรามาช้านี้เพราะเหตุด้วยนางกำฮูหยินนางบิฮูหยินทั้งสองหายไป เราเที่ยวเสาะหาอยู่จึงช้ามาต่อภายหลัง ซึ่งเราจะเอาใจออกห่างไปอยู่ด้วยโจโฉนั้นหามิได้ เตียวหุยได้ฟังดังนั้นจึงว่า นี่หากกันหยงมาบอกหนักเบาแก่เราก่อน หาไม่ตัวท่านกับเราจะได้ผิดใจกัน จูล่งจึงถามว่าบัดนี้นายเราอยู่แห่งใดเล่า เตียวหุยจึงบอกว่าพี่เราอยู่ข้างหลัง ทางไม่ไกลนักดอก จูล่งจึงว่าแก่บิต๊กว่า ท่านพานางกำฮูหยินไปให้นายเราก่อนเถิด ตัวเราจะกลับไปเที่ยวสืบเสาะหานางบิฮูหยินกับอาเต๊าให้ได้ก่อนแล้วจะกลับมา จูล่งก็ควบม้ากลับไปพบแฮหัวอิ๋นคุมทหารประมาณห้าสิบคน ขี่ม้าถือทวนเหน็บกระบี่ยืนสกัดทางจูล่งไว้ จูล่งขับม้าเข้ารบกับแฮหัวอิ๋นได้เพลงหนึ่ง ก็เอาทวนแทงถูกแฮหัวอิ๋นตกม้าตาย ทหารทั้งปวงก็แตกหนีไป และแฮหัวอิ๋นคนนี้เป็นคนสนิทของโจโฉ มีกำลังมาก โจโฉรักใคร่ให้ถือกระบี่ชื่อกีเทนเกี้ยม ถ้าจะฟันเหล็กก็ดุจหนึ่งว่าฟันหยวก
จูล่งได้กระบี่แล้วก็ชักออกดู เห็นอักษรจารึกอยู่ก็รู้ว่ากระบี่เอกของโจโฉ จูล่งเหน็บสะพาย แล้วก็ควบม้าตีฝ่าเข้าไปหานางบิฮูหยินในกองทัพแต่ผู้เดียว มิได้กลัวแก่ความตาย พบครอบครัวชาวเมืองทั้งสองก็ถามหานางบิฮูหยินมิได้ขาด คนหนึ่งจึงชี้มือว่า นางบิฮูหยินถูกทวนที่ขาเดินมิได้ อุ้มลูกนั่งซ่อนอยู่ที่ริม ผนังตึกตรงนี้ จูล่งแจ้งดังนั้นก็ควบม้ารีบไปถึงตึกหลังหนึ่งไฟไหม้ยังแต่ผนัง ก็เข้าไปดูเห็นนางบิฮูหยินอุ้ม อาเต๊านั่งร้องไห้อยู่ริมปากบ่อ จูล่งโจนลงจากม้าวิ่งเข้าไปคำนับแล้วก็ร้องไห้

"นางบิฮูหยินถูกทวนที่ขาเดินมิได้ อุ้มลูกนั่งซ่อนอยู่ที่ริมผนังตึก"
นางบิฮูหยินเห็นจูล่งมาดังนั้นก็ดีใจจึงว่า ท่านมาพบข้าพเจ้าบัดนี้เหมือนหนึ่งเอาชีวิตลูกข้าพเจ้าไว้ ขอท่านได้มีความกรุณาพาเอาอาเต๊านี้ไปให้บิดา ให้ได้เห็นหน้าหน่อยหนึ่งเถิด อันตัวข้าพเจ้านี้ถึงจะตายก็ตามแต่เวรหนหลัง จูล่งจึงว่าซึ่งท่านได้ความลำบากทั้งนี้ก็เพราะข้าพเจ้ารักษาท่านมิได้ โทษมีแก่ข้าพเจ้าเป็นข้อใหญ่ และบัดนี้ข้าพเจ้าติดตามมาพบท่านแล้วขอเชิญท่านขึ้นมาเถิด ข้าพเจ้าจะเดินเท้าตีฝ่าทหารทั้งปวงนำหน้าท่านออกไป นางบิฮูหยินจึงว่า ท่านอย่าวิตกถึงข้าพเจ้าเลย ตัวข้าพเจ้าป่วยหนักอยู่แล้วเห็นจะมิรอด และบุตรข้าพเจ้านี้จะรอดชีวิตก็เพราะท่าน ซึ่งท่านจะลงจากม้านั้นก็เหมือนหนึ่งชีวิตลูกข้าพเจ้าหาไม่ ท่านจงรีบเอาแต่ลูกข้าพเจ้าไปเถิด อย่าเป็นห่วงเป็นใยด้วยข้าพเจ้านี้เลย จูล่งจึงว่า ท่านอย่าหนักหน่วงให้ข้าพเจ้าช้าอยู่เลย เชิญขึ้นม้าเร็วๆ เถิด เสียงทหารโจโฉโห่ร้องกระชั้นล้อมเข้ามาใกล้อยู่แล้ว นางบิฮูหยินจึงว่า ท่านเอ็นดูแล้ว จงรีบพาเอาบุตรข้าพเจ้านี้หนีให้รอดเถิด ตัวข้าพเจ้านี้จะไปด้วยมิได้ จะมาเป็นห่วงอยู่ด้วยข้าพเจ้านี้ก็จะพากันตายเสียเปล่า แล้วก็เอาลูกส่งให้จูล่ง จูล่งก็มิรับ แต่เฝ้าเชิญนางบิฮูหยินขึ้นม้าถึงสองครั้งสามครั้ง นางบิฮูหยินก็มิได้ขึ้น อ้อนวอนกันอยู่เป็นช้านาน เสียงทหารโจโฉก็ยิ่งโห่ร้องกระชั้นใกล้เข้ามา จูล่งจึงว่าท่านจะหนักหน่วงอยู่ฉะนี้ ถ้าและทหารโจโฉยกมาถึงเข้า จะมิพากันวุยวายเสียการไปหรือ นางบิฮูหยินได้ฟังดังนั้น ก็เอาอาเต๊าผู้บุตรเลี้ยงเป็นลูกของนางกำฮูหยินภรรยาหลวงนั้น วางลงไว้เหนือแผ่นดินต่อหน้าจูล่ง แล้วก็โจนลงในบ่อน้ำตาย
จูล่งเห็นดังนั้นก็ร้องไห้ จึงกวาดเอาดินถมบ่อเสียหวังจะมิให้ทหารโจโฉเห็นซากศพ จึงเอาผ้าห่อตัวอาเต๊าเข้าทำเป็นอู่สวมคอลง แล้วปลดกระดุมเกราะเสียแหวกอกออกเอาอาเต๊าซ่อนเข้าในเกราะ กลัดดุมหุ้มตัวไว้แล้วก็ขึ้นม้าขับออกมา พอพบฮันเบ๋งซึ่งเป็นทหารรองโจโฉ คุมทหารเดินเท้ากองหนึ่งออกสกัดทางไว้ จูล่งก็ขับม้าเข้ารบด้วยฮันเบ๋งได้สามเพลง ฮันเบ๋งเสียที จูล่งแทงด้วยทวนตกม้าตายก็รับหักฝ่าออกมา พอพบกองทัพเตียวคับตั้งสกัดอยู่อีก จึงขับม้าเข้ารบด้วยเตียวคับได้สิบห้าเพลงก็ชักม้าควบหนี เตียวคับเห็นได้ทีก็ชักม้าไล่ตามไป จูล่งขับม้าหนีไปโดยเร็ว ปะหลุมเก่าแห่งหนึ่ง ม้ายั้งตัวมิทันก็ตกลง เตียวคับได้ทีขับม้าสะอึกกระโจนมาจะแทงด้วยทวน ขณะนั้นเป็นบุญของอาเต๊าซึ่งจะได้เป็นกษัตริย์ มิควรที่จะตายด้วยอาวุธ ก็ให้บันดาลเป็นแสงเพลิงวาบสว่างเป็นเปลวขึ้นจากหลุม เตียบคับเห็นดังนั้นก็ตกใจ ม้านั้นก็ยืนชะงักอยู่ จูล่งกระทืบเตือนพนังข้างม้าโดดเผ่นขึ้นจากหลุมหนีไปได้ เตียบคับเห็นประจักษ์ดังนั้นก็มิอาจที่จะตามแต่ม้าเอี๋ยนและเตียวคีสองคนคุมทหารวิ่งตามร้องมาข้างหลังว่า จูล่งครั้งนี้จะหนีเรามิพ้นแล้ว ฝ่ายเจียวเหียและเจียวหลำสองคนคุมทหารก้าวสกัดอยู่ข้างหน้า จูล่งก็ขับม้าเข้ารบด้วยทหารทั้งสี่นาย เป็นสามารถ และทหารเลวทั้งนั้นก็เข้าล้อมรุมรบพุ่งเป็นอลหม่าน จูล่งก็ชักกระบี่ออกไล่ฟันทหารทั้งปวงล้มตายเป็นอันมาก
โจโฉขึ้นอยู่บนเนินเขาเกงสัน แลลงไปเห็นจูล่งเข้ารบพุ่งตะลุมบอนด้วยทหารทั้งปวงแลฝ่าฟันไปมิได้ย่อท้อ จึงถามทหารเล่าปี่คนนี้ชื่อใด มีฝีมือเข้มแข็งนัก โจหองได้ยินโจโฉถามก็ขับม้ารีบลงไปจากเนินเขา สกัดหน้าจูล่งไว้ แล้วร้องถามว่าท่านนี้ชื่อใด จูล่งจึงร้องบอกว่าเราชื่อเตียวจูล่ง โจหองชักม้ากลับไปแจ้งแก่โจโฉ โจโฉจึงสรรเสริญว่าทหารคนนี้มีอำนาจประดุจเสือ แล้วจึงสั่งให้ไปร้องประกาศว่าอย่าให้ผู้ใดเอาเกาทัณฑ์ยิงจูล่งเลยจะตายเสีย จงช่วยกันล้อมจับเอาเป็นให้ได ้ ฝ่ายจูล่งก็ขับม้าไล่ฝ่าทหารทั้งปวงออกมาได้ ด้วยเหตุว่าโจโฉห้ามทหารทั้งปวงมิให้ยิงเกาทัณฑ์ และบุญของอาเต๊าที่จะได้เป็นกษัตริย์นั้นด้วย จึงเผอิญให้จูล่งฆ่านายกองใหญ่เสียได้ถึงสองนาย ทหารเอกห้าสิบคนโลหิตติดเกราะและข้างม้า ดุจหนึ่งรดด้วยน้ำครั่ง

"โจโฉร้องประกาศว่า อย่าให้ผู้ใดเอาเกาฑัณฑ์ยิงจูล่งเลยจะตายเสีย"
จูล่งขับม้าพาอาเต๊ารีบมาถึงเนินเขาแห่งหนึ่ง พบจงจิ๋นกับจงสินพี่น้อง ซึ่งเป็นทหารรองแฮหัวตุ้นชักม้าสกัดหน้าไว จูล่งขับม้าเข้ารบด้วยจงจิ๋นจงสินได้สามเพลง แทงเอาจงจิ๋นตกม้าตาย จูล่งก็ขับม้ารีบหนีไป จงสินขับม้าไล่ตามกระชั้นติดม้าจูล่งส่งไป ขยับจะแทงด้วยทวนจวนจะได้จะเสียรอมร่ออยู่ จูงล่งชักม้าหันตัวจะกลับมาต่อสู้ด้วยจงสิน พอม้าจงสินไล่กระชั้นชิดไปยั้งตัวไม่ทัน อกจงสินและอกจูล่งจักแหล่นปะทะกันเข้า จูล่งเอาทวนปัดทวนจงสินโดยเร็วกระเด็นไป จึงชักเอากระบี่ฟันจงสินถูกศีรษะตลอดไป ตัวขาดออกตกลงซีกหนึ่ง จงสินขาดใจตายในทันใด จูล่งก็ขับม้ารีบหนีไปถึงสะพานเตียงปันเกี้ยว พอได้ยินเสียงทหารโจโฉโห่ร้องตามมาข้างหลัง กำลังม้าและกำลังจูล่งก็อ่อนลง พอแลเห็นเตียวหุยยืนอยู่ที่สะพานจึงร้องว่า ครั้งนี้เหลือกำลังข้าพเจ้านัก ท่านช่วยข้าพเจ้าด้วย เตียวหุยจึงร้องว่า ท่านรีบข้ามสะพานไปเสียให้พ้นเถิด ข้าพเจ้าจะสู้เอง จูล่งก็รีบข้ามสะพานไปทางประมาณสองร้อยเส้นก็พบเล่าปี่พักอยู่ จูล่งก็ลงจากม้าเข้าไปคำนับแล้วร้องไห้ เล่าความให้ฟังทุกประการ แล้วว่าข้าพเจ้าได้แต่อาเต๊าบุตรของท่าน ห่อมาในเกราะและเมื่อข้าพเจ้าตีหักออกจากที่ล้อมรบพุ่งกันอยู่กับทหารโจโฉนั้น ยังได้ยินเสียงร้องไห้อยู่ บัดนี้นิ่งไปนานแล้วมิได้ยินเสียงร้องไห้จะเป็นอันตรายเสียก็มิรู้เลย
จูล่งแก้เกราะออกเห็นอาเต๊านอนหลับก็ดีใจ จึงว่าแก่เล่าปี่ว่าบุญของท่านนักหนา บุตรของท่านหาเป็นอันตรายสิ่งใดไม่ แล้วจูล่งอุ้มอาเต๊าส่งให้เล่าปี่ เล่าปี่รับอาเต๊าแล้วทำเป็นโกรธทิ้งบุตรลงแล้วว่า เพราะอ้ายจัญไรคนเดียวนี้ จูล่งทหารเอกเราจักแหล่นจะเสียทีแก่ข้าศึก จูล่งเห็นดังนั้นก็ตกใจรีบลุกเข้าไปรับอาเต๊าไว้ได้ แล้วคุกเข่าคำนับว่าท่านอย่าโกรธแก่บุตรท่านเลย อันตัวข้าพเจ้านี้ถึงจะตายก็จะเอาโลหิตทาแผ่นดินไว้ให้ปรากฏจะสนองคุณท่าน
ฝ่ายบุนเพ่งคุมทหารไล่ติดตามจูล่งมาถึงสะพานเตียงปันเกี้ยว เห็นเตียวหุยถือทวนยืนสกัดอยู่ที่ต้นสะพาน แลเห็นผงคลีเท้าม้าซึ่งทหารเตียวหุยตีให้วิ่งฟุ้งตลบอยู่ในป่า ก็สำคัญว่าทหารเข้าซุ่มอยู่เป็น อันมาก ยั้งม้าอยู่มิได้รุกเข้าไป พอโจหยิน ลิเตียน แฮหัวเอี๋ยน งักจิ้น เตียวเลี้ยว เตียวคับ เคาทู แปดนายคุมทหารตามมาทัน เห็นดังนั้นก็คิดว่าขงเบ้งแต่งกลอุบายซุ่มไว้ ก็ชวนกันหยุดอยู่สิ้น จึงให้คนรีบไปแจ้งแก่โจโฉ โจโฉรู้ดังนั้นก็ยกทหารรีบมา
เตียวหุยแลไปเห็นทหารยกมาเป็นอันมาก เห็นสัปทนกั้นมาข้างหลังก็รู้ว่าโจโฉยกตามมาเอง จึงร้องตวาดออกไปด้วยเสียงอันดังว่า ตัวกูชื่อเตียวหุย ผู้ใดซึ่งมีฝีมือเข้มแข็ง จงมาสู้กันลองกำลังดูให้ถึงแพ้และชนะ ทหารโจโฉได้ยินเสียงเตียวหุยก็ตกใจ ตกตะลึงอยู่มิได้เข้ารบ เตียวหุยก็ให้ทหารแก้กิ่งไม้ซึ่งผูกหางม้าออก แล้วให้ชักกระดานสะพานเสีย แล้วพาทหารกลับมาหาเล่าปี่ จึงเล่าเนื้อความให้ฟังทุกประการ เล่าปี่จึงว่าอันตัวเจ้านี้มีผีมือกล้าหาญก็จริง แต่ทว่าเสียดายทำอุบายมิตลอด ซึ่งเจ้าชักสะพานเสียครั้งนี้ เหมือนจะบอกแก่โจโฉว่าคนน้อยให้ตามมา ถ้าเจ้ามิชักสะพานเสีย โจโฉก็จะสำคัญว่าซุ่มคนไว้ในป่ามากจะกลัวอยู่ เล่าปี่ว่าดังนั้นแล้วก็พาทหารบากลงทางลัดจะไปท่าฮันจิ๋น
ฝ่ายเตียวเลี้ยวกับเตียวคับ เคาทู เห็นเตียวหุยหนีไปแล้วจึงกลับไปบอกแก่โจโฉว่า บัดนี้เตียวหุยชักสะพานเสียหนีไปแล้ว โจโฉได้ฟังดังนั้นจึงว่า เตียวหุยผู้เดียวหามีทหารไม่ จึงชักสะพานเสียหนีไป เพราะกลัวเราจะตาม แล้วจึงเกณฑ์ทหารสามพันให้ไปทำสะพานเป็นสามเส้น กำหนดให้แล้วแต่ในเวลาวันเดียวจะรีบข้ามสะพาน ลิเตียนจึงว่าแก่โจโฉว่า ซึ่งท่านจะรีบยกตามเล่าปี่ไปนั้น ข้าพเจ้ายังคิดเกรงอยู่ เกลือกจะเป็นกลอุบายของขงเบ้ง อันเตียวหุยจะมีปัญญาความคิดทำกลถึงเพียงนี้ยังไม่เห็นด้วย ขอท่านอย่าเพ่งทำการล่วงไปก่อน โจโฉจึงว่าอุบายแต่เพียงนี้จะกลัวอะไรนัก ถึงจะยิ่งกว่านี้เราก็ไม่กลัว โจโฉก็รีบยกทหารข้ามสะพานตามไป
ฝ่ายเล่าปี่ได้ยินเสียงทหารโห่ร้องตามมาข้างหลังดังหนึ่งแผ่นดินจะทรุด แลมาเห็นผงคลีฟุ้งตลบไปในอากาศ จึงว่าเราจะไปบัดนี้ก็มีทะเลขวางหน้าอยู่ ข้างหลังเล่ากองทัพก็ตามมา จะทำประการใดดี จึงสั่งให้จูล่งตระเตรียมตัวลงมาอยู่ข้างหลังคอยรับกองทัพซึ่งจะตามมา
ขณะนั้นโจโฉจึงว่าแก่ทั้งทหารทั้งปวงว่า เล่าปี่ครั้งนี้อุปมาเหมือนปลาขังอยู่ในถัง เสือตกอยู่ในหลุม ถ้าและจะละเสียให้เล็ดรอดหนีไปได้ บัดนี้ก็เหมือนปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงในมหาสมุทร ทหารทั้งปวงจงช่วยกันขะมักเขม้นจับตัวเล่าปี่ให้จงได้ ทหารทั้งปวงต่างคนต่างรีบขึ้นหน้าขับกันตามไป
ฝ่ายกวนอูซึ่งไป ณ เมืองกังแฮ ได้ทหารหมื่นหนึ่งลงเรือคุมกลับมาถึงกลางทาง รู้ระคายไปว่า เล่าปี่แตกมาถึงสะพานเตียงปันเกี้ยว ก็ให้ทหารจอดเรือเข้า ณ ท่าฮันจิ๋น ยกทหารรีบขึ้นบกมาสกัดรับเล่าปี่ พอเล่าปี่แยกไปทางลัดมิได้พบกัน มาถึงเนินเขาแห่งหนึ่งพบกองทัพโจโฉยกติดตามเล่าปี่มาทางใหญ่ กวนอูก็ขับทหารโห่ร้องรีบสวนทางขึ้นมา โจโฉเห็นดังนั้นจึงว่า ซึ่งลิเตียนทัดทานเรานั้นก็เห็นจะต้องด้วยกลขงเบ้งจริงเหมือนลิเตียน แล้วก็สั่งให้ทหารถอยกลับลงมา กวนอูก็ไล่รบพุ่งติดตามไปทางประมาณร้อยเส้น เห็นทหารโจโฉถอยไปมิได้รบต่อ ก็กลับหลังย้อนมาตามทางลัดพบเล่าปี่ก็มีความยินดี จึงพาไปลงเรือแล้วถามว่า นางบิฮูหยินพี่สะใภ้ข้าพเจ้าไปอยู่ไหนเล่า เล่าปี่จึงบอกเนื้อความแก่กวนอู ตามซึ่งได้รบพุ่งกับโจโฉนั้นว่านางบิฮูหยินกระโจนน้ำตายเสียแล้ว จูล่งจึงเอาแต่บุตรนี้มาให้เรา กวนอูได้ฟังดังนั้นก็ทอดใจใหญ่ว่า วันเมื่อไปตามเสด็จพระเจ้าเหี้ยนเต้ ถ้าท่านมิห้ามข้าพเจ้าที่ไหนจะได้ความเดือดร้อนถึงเพียงนี้

เล่าปี่จึงว่า ครั้งนั้นตัวพี่อนาถาหาที่จะตั้งเป็นภูมิฐานมิได้ เหมือนหนูติดจั่น กลัวจะทำการนั้นมิตลอดจึงห้ามเสีย และเมื่อเล่าปี่พูดกันกับกวนอูอยู่นั้น พอเล่ากี๋ยกกองทัพเรือมาข้างฟากตะวันตก เล่าปี่ได้ยินเสียงโห่ก็ตกใจ จึงแลไปเห็นนายเรือแต่งตัวใส่เสื้อโพกศีรษะด้วยผ้าขาวก็สังเกตได้ว่าเล่ากี๋ เล่าปี่ให้ทหารทั้งปวงสงบอยู่ ครั้นเล่ากี๋มาจึงจอดเรือเข้าคำนับเล่าปี่แล้ว ร้องไห้ ว่าบัดนี้ข้าพเจ้าแจ้งไปว่าท่านเสียทีแก่โจโฉแตกมา ข้าพเจ้าจีงยกกองทัพมาหวังจะช่วยท่าน
เล่าปี่มีความยินดี จีงเล่าเนื้อความแต่หลังให้หลานฟังทุกประการ แล้วให้เคลื่อนเรือออกจากท่า พอเห็นเรือรบกองหนึ่งใช้ใบมาข้างทิศตะวันตก เล่ากี๋ประหลาดใจจึงว่าแก่เล่าปี่ว่า ข้าพเจ้าเกณฑ์ทหารยกมาครั้งนี้ก็สิ้นเชิง เมืองกังแฮผู้คนก็เบาบางลง บัดนี้เรือรบใช้ใบตามมาเป็นอันมากเห็นจะเป็นทหารของโจโฉ ถ้ามิดังนั้นก็จะเป็นทหารจิวยี่ ให้ยกมาทำอันตรายเป็นมั่นคง จะทำกระไรดี ครั้นเรือรบเข้าไปใกล้ เล่าปี่แลไปเห็นขงเบ้งนั่งมาข้างหน้าเรือซุนเขียนอยู่ท้ายก็มีความยินดี จึงให้ทหารเรียกให้ข้ามฟากมา แล้วถามว่าเหตไฉนท่านคอยล้าหลังอยู่ฉะนี้ ขงเบ้งคำนับแล้วจึงบอกว่า ซึ่งข้าพเจ้าล้าหลังอยู่ เพราะข้าพเจ้าอยู่เกณฑ์คนเพิ่มเติมมาอีกจึงช้า เล่าปี่ได้ฟังดังนั้นก็ให้ใช้ใบแล่นมา จึงปรึกษากับขงเบ้งซึ่งจะคิดอ่านทำการรบพุ่งกับโจโฉสืบไป
ขงเบ้งจึงว่า หัวเมืองปากน้ำเมืองกังแฮนั้น มีค่ายคูมั่นคงพอจะตั้งอยู่ต่อสู้กับโจโฉได้ ขอให้ยกไปอยู่เมืองแฮเค้าปากน้ำเมืองกังแฮเถิด ข้าวปลาอาหารก็บริบูรณ์เห็นจะไม่ขัดสน แล้วจึงว่าแก่เล่ากี๋ว่า ท่านจงเร่งกลับไปเมืองกังแฮ ตระเตรียมทหารทั้งปวงให้พร้อมไว้ จะได้ช่วยกันทำการไปข้างหน้า เล่ากี๋ จึงว่าซึ่งจะให้กลับไปตระเตรียมผู้คนก็ชอบอยู่ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าจะเชิญท่านไปด้วย ให้ช่วยจัดแจงทหารทั้งปวง แม้เสร็จแล้วจะกลับมาอยู่เมืองแฮเค้าก็ตามเถิด ขงเบ้งเห็นชอบด้วยจึงให้กวนอูคุมทหารห้าพัน ไปรักษาเมืองแฮเค้าไว้ แล้วก็พาเล่าปี่ไปเมืองกังแฮด้วยเล่ากี่

เรื่องย่อ สามก๊ก

เรื่องสามก๊ก เป็นเรื่องตอนที่แผ่นดินจีนแบ่งแยกออกเป็นสามก๊กใหญ่ๆ นับตั้งแต่ สมัยพระเจ้าเลนเต้ กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น ครองราชเมื่อ พ.ศ. ๗๑๑ พระเจ้าเลนเต้เป็นกษัตริย์ที่ อ่อนแอ ไม่สนพระทัยที่จะบริหารบ้านเมือง มัวแต่แสวงหาความสุขสำราญส่วนพระองค์ ปล่อยให้ ขันทีทั้ง ๑๐ ว่าราชการตามความพอใจ จนขุนนางและประชาชนได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว พระเจ้าเลนเต้ มีโอรส ๒ พระองค์ ต่างชนนีกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากในการ สืบราชสมบัติ ครั้นพระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โอรสองค์ใหญ่ คือ หองจูเปียน ซึ่งขณะนั้นยัง ทรงพระเยาว์อยู่ ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา โดยมีนางโฮเฮาพระมารดาเป็นผู้สำเร็จ ราชการแผ่นดิน แต่ในราชสำนักก็ยังวุ่นวายจากพวกขันทีทั้ง ๑๐ อยู่ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮา จึงเชิญตั๋งโต๊ะมาช่วยกำจัดพวกขันที
เมื่อเหตุการณ์เรียบร้อยเป็นปกติแล้ว ตั๋งโต๊ะก็ยึดอำนาจถอดถอนหองจูเปียงออก โดยให้เอาสุราผสมยาพิษกรอกจนสิ้นพระชนม์ จากนั้นก็สถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั๋งโต๊ะก็ตั้งตนเป็นพระมหาอุปราช มีฐานะเป็นบิดาบุญธรรม ของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ถืออำนาจบาทใหญ่กระทำการทุจริต พวกขุนนางทั้งหลายจึงคิดที่จะกำจัด ตั๋งโต๊ะ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนอ้องอุ้นได้วางแผนส่งนางเตียวเสี้ยน ซึ่งเป็นบุตรสาวบุญธรรม ไปเป็น ภรรยาตั๋งโต๊ะ ให้นางใช้อุบายและมารยาหญิง ทำให้ตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป ผู้เป็นหทารเอก จนกระทั่งลิโป้ฆ่าตั๋งโต๊ะตาย แต่อ้องอุ้นก็ไม่สามารถจัดการบ้านเมืองให้เรียบร้อยได้ ในที่สุด อ้องอุ้นก็ถูกลิฉุยกับกุยกีพรรคพวกของตั๋งโต๊ะฆ่า แล้วลิฉุยกับกุยกีก็บังคับพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้อยู่ ใต้อำนาจ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารบ้านเมือง พระเจ้าเหี้ยนเต้คับแค้นใจมาก จึงมีรับสั่ง เรียกโจโฉมาช่วยกำจัด ลิฉุย กุยกี และพรรคพวก โจโฉยึดอำนาจในเมืองหลวงไว้ได้ แล้วกำเริบ ตั้งตนเองเป็นมหาอุปราชควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้อยู่ใต้อำนาจ ข่มเหงพวกขุนนางที่สุจริตและ เหล่าราษฎร พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงใช้พระโลหิตเขียนหนังสือลับ ไปขอร้องให้ขุนนางที่จงรักภักดีช่วย กำจัดโจโฉ แต่ถูกโจโฉจับได้ ขุนนางเหล่านั้นก็ถูกฆ่าตายหมด แม้แต่นางฮกเฮาพระมเหสีของ พระองค์ก็ถูกจับไปฆ่าเช่นกัน พวกเจ้าเมืองต่างๆ ได้ทราบพฤติการณ์อันเลวทรามของโจโฉ ก็ไม่พอใจ คิดจะช่วยเหลือพระเจ้าเหี้ยนเต้ จึงพากันกระด้างกระเดื่องขึ้น โจโฉก็ให้จัดกองทัพไป ปราบปราม สงครามจึงเกิดขึ้น โจโฉสามารถปราบเมืองต่างๆ ได้สำเร็จ แต่ไม่อาจปราบเล่าปี่ เจ้าเมืองเสฉวนได้ และซุนกวนเจ้าเมืองกังตั๋งได้
เล่าปี่เป็นเชื้อสายพระราชวงศ์ฮั่น แต่ยากจนอนาถา ได้คนมีฝีมือไว้เป็นทหาร หลายคน แต่มีกำลังไพร่พลน้อย ต้องคอยหลบหนีฝ่ายศัตรูอยู่เสมอ จนกระทั่งได้ขงเบ้งมาเป็น ที่ปรึกษา จึงสามารถตั้งตนเป็นเจ้าเมืองเสฉวนได้ส่วนซุนกวน เป็นเจ้าเมืองกังตั๋งโดยการสืบสกุล เป็นคนดีมีศีลธรรม ปกครองบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม จึงมีคนเคารพนับถือเข้ามาเป็นพวก มายมาย เมื่อโจโฉตาย โจผีบุตรชายของโจโฉครองตำแหน่งมหาอุปราชแทน แล้วต่อมาก็กบฏ ปลดพระเจ้าเหี้ยนเต้ออกจากบัลลังก์ แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่าพระเจ้า อ้วนโซ่ ตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ คือ ราชวงศ์วุย เล่าปี่ถือว่าตนเองเป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น ไม่ยอมรับ พระเจ้าโจผีเป็นกษัตริย์ จึงตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์สืบราชวงศ์ฮั่น ใช้เมืองเสฉวนเป็นราชธานี ซุนกวนก็ไม่ยอมขึ้นกับพระเจ้าโจผีหรือเล่าปี่ ก็ตั้งตัวเป็นกษัตริย์บ้าง มีเมืองกังตั๋งเป็นราชธานี
ประเทศจีนขณะนั้น จึงแยกเป็น ๓ อาณาจักร หรือเรียกว่า สามก๊ก อาณาจักร ของเล่าปี่ เรียกว่า "จ๊กก๊ก" อาณาจักรของพระเจ้าซุนกวน เรียกว่า "ง่อก๊ก" และอาณาจักรของพระเจ้าโจผี เรียกว่า "วุยก๊ก"
ต่อมาเมื่อพระเจ้าเล่าปี่ พระเจ้าซุนกวน และพระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว เชื้อสาย ที่สืบราชสมบัติต่อมาก็อ่อนแอลง สุมาเจียวซึ่งเป็นมหาอุปราชของวุยก๊กสามารถจับตัวพระเจ้า เล่าเสี้ยนมาเป็นเชลยได้ จึงรวมอาณาจักรจ๊กก๊กเข้ากับวุยก๊กได้ พอสุมาเจียวตายแล้ว สุมาเอี๋ยน ผู้เป็นบุตรชายสืบตำแหน่งแทน และได้ชิงราชสมบัติของวุยก๊กจากพระเจ้าโจฮวน แล้วตั้งตนเอง เป็นกษัตริย์แทน ตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้น เรียกว่า ราชวงศ์จิ๋น พระเจ้าสุมาเอี๋ยนสามารถปราบพระเจ้า ซุนโฮแห่งง่อก๊กให้ยอมสวามิภักดิ์ได้ แผ่นดินจีนทั้ง ๓ อาณาจักรก็รวมกันเป็นอาณาจักรเดียว เรียกว่า เมืองไต้จิ๋น สงครามที่ดำเนินมานานก็สงบลงอย่างเด็ดขาด

อิงประวัติศาสตร์

ฉินสื่อหวงตี้หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามจิ๋นซีฮ่องเต้ สถาปนาราชวงศ์ฉินเมื่อก่อนคริสต์ศักราช 221
11 ปีต่อมา จิ๋นซีฮ่องเต้ทิวงคตระหว่างเสด็จตรวจราชการ ในพินัยกรรมความจริงทรงแต่งตั้งราชโอรสใหญ่ฝูซูเป็นรัชทายาท หากแต่ตอนนี้นฝูซูได้รับมอบหมายให้ไปควบคุมการสร้างกำแพงเมืองจีน มหาเสนาบดีหลี่ซือ ขันทีจ้าวเกาจึงสมคบคิดกับแก้ไปพินัยกรรมให้ฝูซูฆ่าตัวตายยกราชโอรสองค์เล็กซื่อหูไฮ่ขึ้นครองราชย์สืบแทน ทรงพระนามว่าฉินเอ้อซื่อฮ่องเต้
แต่แล้วหนึ่งปีให้หลัง เกิดกบฏชาวนาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน หัวหน้ากบฏชื่อเฉินเสิ้งกับอู๋กว่าง มาตรว่าถูกทัพฉินปราบปรามโดยราบคาบ แต่ยังกองกำลังลุกฮืออย่างมากมายผู้ที่โดดเด่นที่สุดคือเซี่ยงหวี่
เซี่ยงหวี่มีพละกำลังเหนือคน เพียงแขนเดียวสามารถยกกระถางหนักพันชัง ทั้งยังมีน้ำใจหาญกล้า เป็นที่ยอมรับของคนทั้งปวง ต่อมาสนับสนุนเชื้อพระวงศ์ของเจ้ารัฐฉู่ขึ้นเป็นฉู่อ๋ององค์ใหม่ และเตรียมการล้มล้างราชวงศ์ฉิน
ขณะเดียวกัน ราชสำนักฉินเกิดการแก่งแย่งภายใน จ้าวเกาปลงพระชนน์ฉินเอ๋อซึ่งเป็นฮ่องเต้ สนับสนุนหลายชายของฉินเอ๋อซื่อฮ่องเต้นามจื่ออิงเป็นเจ้าชึวิตสืบแทน แต่แล้วเซี่ยงหวี่ยกกำลังสี่สิบหมื่น ยาตราทัพเข้านครเสียนหยาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน จื่ออิงยอมจำนนแต่เซี่ยงหวี๋ลงมือฆ่าทิ้ง สั่งให้ขุดทำลายสุสานจิ๋นซี เผาวังอาฝางของราชวงศ์ฉินจนราบคาบ
เซี่ยงหวี่พานประหารฆ่าฉู่อ๋อง สถาปนารัฐฉู่ตะวันตก ขนานนามพระองค์เป็นฉู่ปาอ๋อง หรือที่ชาวไทยรู้จักกันในนามฌ้อปาอ๋อง และแต่ตั้งหลิงปังซึ่งเป็นผู้ทำศึกสงครามชิงแผ่นดินกับพระองค์เป้นเจ้าฮั่นอ๋องให้ไปปกครองดินแดนปาสู แต่แล้วหลิงปังค่อยๆสะสมกำลังจนกล้าแข็งทัดเทียมฌ้อปาอ๋อง สุดท้ายทำสงครามกันที่ไกเซี่ย ทัพฌ้อปาอ๋องปราชัยอย่างยับเยิน ฌ้อปาอ๋องจึงชักกระบี่เชือดคอตาย ที่ริมแม่น้ำอูเจียงด้วยอายุเพียงสามสิบเอ็ดปี ดังนั้นแผ่นดินจึงตกเป็นของหลิวปัง และหลิวปังปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามฮั่นโกโจฮ่องเต้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โก้วเล้ง

โก้วเล้งนักเขียนนิยายจีน แม้ว่าโก้วเล้งจะออกตัวว่า แรงดลใจที่ทำให้เขาเขียนนิยายยุทธจักร ไม่ใช่หลักการเลิศหรูประการใด "เพียงแต่ต้องการหาเงินกินข้าวเท่านั้น" แต่โก้วเล้งก็เห็นว่า "นิยายกำลังภายในก็เป็นรูปแบบหนึ่งของนวนิยาย ที่มันสามารถดำรงอยู่ในปัจจุบัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีคุณค่าในการคงอยู่ของมัน"โก้วเล้ง นักเขียนนิยายวรยุทธวิญญาณเสรีที่มา: โก้วเล้ง (Gu Long) มีชื่อจริงว่า สงย่าวฮวา หรือ ฮิ้มเอี้ยวฮัว (Syong Yaohua) เกิดในฮ่องกง เมื่อปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1937) บิดาเป็นชาวมณฑลกังไส (มณฑลเจียงซี - Jiangxi Province ) ซึ่งอพยพไปอยู่ฮ่องกง โก้วเล้งจบการศึกษาภาคประถมที่ฮ่องกง แต่เมื่อปี พ.ศ. 2495 ขณะอายุได้ 14 ปี ก็เดินทางไปศึกษาต่อยังไต้หวันเพียงลำพัง โดยพักที่ Juifang Town ในกรุงไทเป ตอนแรกที่พำนักอยู่ไต้หวันนั้น ยังมีการติดต่อกับครอบครัวทางฮ่องกง ค่าใช้จ่ายในไต้หวันเป็นครอบครัวทางฮ่องกงจัดส่งให้ แต่อีกสี่ปีให้หลังก็ขาดการติดต่อ นับแต่นั้นโก้วเล้งมีชีวิตอย่างลำบากยากแค้น ไร้บ้านช่องคืนกลับ สาเหตุที่ขาดการติดต่อ โก้วเล้งหาได้เปิดเผยไม่ โก้วเล้งผ่านชีวิตมาอย่างโชกโชนตั้งแต่วัยรุ่น เคยผ่านช่วงชีวิตตกต่ำจนถึงขีดสุด เคยผ่านห้วงวิกฤตระหว่างความเป็นความตาย ผ่านความรัก ความแค้น ความเหงา มาสารพัด วันหนึ่งโก้วเล้งเต็ดเตร่อยู่ในตรอกเล็ก ๆ ของถนนฮั้วเพ้งตั้งโล้ว กลางกรุงไทเป ในตัวมีเงินเพียงยี่สิบกว่าเหรียญไต้หวัน มาตรว่าสามารถกินอาหารตามแผงได้ แต่ปัญหาด้านที่พักอาศัยจะทำอย่างไร ? บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อฉบับบ่าย ในยามอับจนสิ้นหนทาง โก้วเล้งพบพานเพื่อนผู้มีนำใจ ท่านหนึ่ง หาที่ซุกหัวนอนที่ถนนโพ่วเซี้ยให้ พร้อมกับจุนเจืออาหาร ภายหลังเมื่อโก้วเล้งเอ่ยถงเพื่อนผู้มีพระคุณท่านี้ ยังเคารพนับถือไม่เสื่อมคลาย หลังจากนั้นไม่นาน โก้วเล้ง หางานทำชั่วคราวได้ที่วิทยาลัยฝึกหัดครู พอมีรายได้เลี้ยงชีพ ทางหนึ่ง ทำหน้าที่เขียนกระดาศษไข พิมพ์โรเนียวและตรวจปรูฟสิ่งพิมพ์ ทางหนึ่ง สมัครเข้าเป็นนักศึกษาใน มหาวิทยาต้ากัง คณะอักษรศาสตร์ แผนกภาษาต่างประเทศ (ขณะที่โก้วเล้งเรียนอยู่นั้นมหาวิทยาลัยต้ากัง ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยว่าว่า Tamkang English Junior College ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Tamkang University) จนสำเร็จการศึกษา ได้ปริญญาบัตรมาใบหนึ่ง ภาษาอังกฤษของโก้วเล้งดีเยี่ยม ทว่าคนภายนอกรู้ไม่มากนัก ภายหลังจบการศึกษา โก้วเล้งสอบเข้าทำงานในคณะที่ปรึกษาทหารอเมริกันประจำกรุงไทเป ตำแหน่งบรรณารักษ์ประจำห้องสมุด (ช่วงเวลานั้นมีทหารอเมริกันอยู่ที่เกาะไต้หวัน และ เกาะคีมอยหลายหมื่นคน) ประมาณปี พ.ศ. 2503 นิยายกำลังภายในที่ไต้หวัน เฟื่องฟูอย่างยิ่ง ระหว่างนั้น ไต้หวันมีสองนักเขียนชื่อดัง อ้อเล้งเซ็ง กับ จูกั๊วแชฮุ้น ครองความยิ่งใหญ่อยู่ ทางการไต้หวันก็สนับสนุน (เพราะงมงายในหนงสือดีกว่าฟุ้งซ่านทางการเมือง) โก้วเล้งใช้เวลาว่างระหว่างทำงาน ทดลองเขียนส่งไปให้กับ สำนักพิมพ์ลื่อสี โก้วเล้งเริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเมื่ออายุ 23 ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เรื่องแรกคือ "เทพกระบี่โพยม" หรือ ซังเกี่ยมซิ้งเกี่ยม (Cangqiong Shen Jian) แต่คงวนเวียนอยู่ในแนวทางเก่าๆ โดยใช้นามปากกาว่า พ่อเกี่ยมเล้าจู๊ มีความยาว 12 เล่ม ได้รับค่าต้นฉบับเล่มละ 800 เหรียญไต้หวัน (ประมาณ 400 บาทเศษ) โดยเขียนเล่มละสี่หมื่นสองพันตัว คิดเฉลี่ยแล้ว อักษรหนึ่งพันตัวมีราคาประมาณ 19 เหรียญไต้หวัน (ไม่ถึงสิบบาท) เท่านั้น แรกผลักดันให้โก้วเล้งเขียนนิยายกำลังภายใน ไม่มีเหตุผลหรูหราเลิศลอยอันใด โก้วเล้งกล่าวว่า เพียงเพื่อหาเงินเท่านั้น
เรื่องที่ประสบความสำเร็จจนพอมีชื่อเสียงขึ้นมาบ้างก็คือ ศึกษาเลือด เป็นแนวรักขัดแย้ง ในสายเลือดและความคิด มีอารมณ์เป็นแกน แทนการฆ่าล้างแค้น ต่อจากนั้นคือ พิฆาตทรชน (เกี่ยมตั๊กบ๊วยเฮียม) เริ่องนี้เกือบทั้งหมดแต่งโดย Shangguan Din, ฉั่งกิมข่วยเง็ก อิ้วเฮียบลก, ซิกฮุ้นอิ้ง โกวแชตึ่ง, เซียวกี่เกี่ยม ภายหลังโก้วเล้งบอกว่า เรื่องเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่ใช้ไม่ได้ แทบปราศจากแนวความคิด และแบบฉบับของตัวเอง ถัดจากนั้นคือ เพียวเฮียงเกี่ยมโหงว, ฮู่ฮวยเล้ง, ศึกศรสวาท (เช้งยิ้นจี่), นักสู้ผู้พิชิต (อ้วงฮวยโซยเกี่ยมลก) จวบจนกระทั่ง บู๊ลิ้มงั่วซือ (ราชายุทธจักร, 2509) แนวการเขียนของโก้วเล้งค่อยเปลี่ยนแปลง สลัดหลุดจากแนวทางของผู้อื่น อาศัยความคิดและแบบฉบับของตัวเองโก้วเล้งเคยกล่าวว่า "จนถึงเรื่อง ราชายุทธจักร (อู่หลินไว่เส่อ) วิธีการเขียนของข้าพเจ้าจึงค่อยๆเปลี่ยนไป ค่อยๆ ห่างออกจากแบบอย่างของผู้อื่นทีละน้อย" ตอนนั้น นิยายกำลังภายในที่จัดพิมพ์จำหน่าย มีจำนวนหลายร้อยหลายพันเล่ม แบบฉบับของนิยายกำลังภายในที่ขายดีทั่วไป มักเป็นเรื่อง ลึกลับซับซ้อน พลิกความคาดหมาย ตัวเอกได้คัมภีร์วิทยายุทธ์ ยาวิเศษหรือผลไม้พันปีเพิ่มพูนกำลังฝีมือ โครงเรื่องบางประการแทบยึดมั่นเป็นแบบฉบับ นักอ่านที่เจนจัด ขอเพียงอ่านตอนแรกเริ่ม ก็คาดเดาตอนอวสานได้ ตำแหน่งบรรณารักษ์ในห้องสมุด เป็นเหตุให้โก้วเล้งมีโอกาสศึกษาวรรณกรรมตะวันตกจำนวนมาก ดังนั้น ยอมรับวรรณกรรมต่างประเทศ สลัดหลุดจากกฏเกณฑ์ของนิยายกำลังภายในทั่วไป ยุทธจักรนิยายของโก้วเล้งจึงมีโฉมหน้า และแบบฉบับที่เป็นเอกเทศเฉพาะหลังจากนั้นก็เริ่มเขียนนิยายในแนวทางของตนเอง ผลงานของโก้วเล้งที่เป็นที่รู้จักได้แก่ เซี่ยวฮื่อยี้ (เจวี่ยไต้ซวงเซียว, 2510), จอมกระบี่มากน้ำใจ, เล็กเซียวหง, อาวุธของโก้วเล้ง, จอมดาบหิมะแดง, จอมโจรจอมใจ (ชอลิ่วเฮียง, 2510), ฤทธ์มีดสั้น (ตอเช้งเกี่ยมแขะบ้อเช้งเกี่ยม, 2511)นอกนั้นยังมี จับอิดนึ้ง (2512) และ ยอดขุนโจร (ฮวยเป๋งจับอิดนึ้ง, 2517) เขียนถึงตัวเอกที่ถูกตราหน้าเป็นโจร แต่มีคุณธรรมล้ำฟ้า, ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่ (ลิ้วแช ฮู้เตี๊ยบ เกี่ยม, 2512) เขียนถึงชีวิตของมือสังหาร ความรัก ก็อดฟาเธอร์ของจีน), วีรบุรุษสำราญ (ฮัวลักเอ็งฮ้ง, 2514) เขียนถึงตัวเอกหลายคน มีสีสันแตกต่างกัน และร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ซาเสียวเอี้ย (2518) เขียนถึงชีวิตของวีรบุรุษนักเลง สอดแทรกปรัชญาไว้อย่างลึกซึ้ง ). อินทรีผงาดฟ้า (2519) เริ่องนี้เกือบทั้งหมดเขียนโดย Sima Ziyan เป็นเรื่องชีวิตการต่อสู้ของลูกผู้ชายซึ่งยึดมั่นในความรัก จากนั้นคำว่า "นิยายแบบโก้วเล้ง" "สำนวนแบบโก้วเล้ง" "บทสนทนาแบบโก้วเล้ง" ซึ่งมักแฝงด้วยสำเนียงเยาะเย้ยอยู่สามส่วนยามเอ่ยจากปากของผู้อื่น จึงค่อยๆก่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้น (จากเดียวดายใต้เงาจันทร์ โก้วเล้งรำพัน)แม้ว่าผู้อ่านบางคนจะไม่รู้หรือจำชื่อเรื่องไม่ได้ แต่ก็สามารถจดจำชื่อตัวละครได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความสามารถของโก้วเล้งในการสร้างบุคลิกภาพของตัวละครได้หนักแน่นและใกล้ชิดกับจิตวิญญาณของผู้คน ตัวละครอย่าง ชอลิ้วเฮียง, ลี้คิมฮวง, เอี๊ยบไค, อาฮุย ต่างพากันโลดแล่นในจินตนาการของผู้อ่าน บ้างก็เติบโตมาพร้อมกันในโลกจินตนาการแม้ว่าโก้วเล้งจะออกตัวว่า แรงดลใจที่ทำให้เขาเขียนนิยายยุทธจักร ไม่ใช่หลักการเลิศหรูประการใด "เพียงแต่ต้องการหาเงินกินข้าวเท่านั้น" แต่โก้วเล้งก็เห็นว่า "นิยายกำลังภายในก็เป็นรูปแบบหนึ่งของนวนิยาย ที่มันสามารถดำรงอยู่ในปัจจุบัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีคุณค่าในการคงอยู่ของมัน"โก้วเล้งรู้สึกขื่นขมกับการเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในของตนอยู่ตลอดเวลา เพราะในสายตาของคนส่วนใหญ่ นวนิยายกำลังภายในมิเพียงมิใช่วรรณกรรม กระทั่งไม่อาจนับเป็นนวนิยาย โก้วเล้งกล่าวว่า"เขียนนวนิยาย เขียนมา 20 ปีแล้ว นวนิยายที่เขียนเป็นเช่นไร? นวนิยายกำลังภายใน คือ นวนิยายชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่นวนิยาย ในสายตาผู้อื่น"โก้วเล้งให้ความหวังกับนักเขียนรุ่นใหม่ว่า "ความสำเร็จในอนาคตของพวกเขา ย่อมจะสูงกว่าข้าพเจ้าอย่างแน่นอน สูงกว่าสามหมื่นหกพันแปดสิบเท่า ขอเพียงพวกเขาสามารถจดจำถ้อยคำหนึ่งไว้ได้ เป้าหมายสูงสุดของการเขียนหนังสือคือ การสร้างสรรค์จากการเปลี่ยนแปลง"หลังจากปี 1975 งานเขียนของเขาถึงกับแย่ลง รูปแบบสไตล์การเขียนถูกลอกเลียนแบบโดยนักเขียนรุ่นใหม่ เมื่อสไตล์การเขียนแบบโก้วเล้งเสื่อมถอยหมดความนิยม ทำให้ความนิยมของนิยายกำลังภายในลดลงไปด้วย ชีวิตแต่หนหลังของโก้วเล้ง ขณะที่ผู้อื่นแบกกระเป๋าไปโรงเรียน ก็ระเหเร่ร่อนในยุทธจักรแล้ว ดังนั้นเมื่อมีเงินทองจากการเขียนหนังสือ จึงจับจ่ายราวก้อนกรวดไม่เสียดาย โก้วเล้งไม่ยอมอยู่เงียบเหงา ชมชอบคบหาสหายที่สุด ร้านอาหาร บาร์และตลาดโต้รุ่ง เป็นสถานที่ซึ่ง เป็นสถานที่ซึ่งโก้วเล้งมักไปเยี่ยม เยือนอยู่เสมอ อาศัยสุรานัดพบ อาศัยสถรานัดพบสหาย ผลจากการดิ่มสุราอย่างหนัก โก้วเล้งต้อง ล้มป่วยลงด้วยโรคตับแข็ง ม้ามโตและเลือดออกทางกระเพราะ แข็งออกโรคพยาบาลถึงสามครั้งสามครา ก่อนสิ้นใจไม่กี่วัน โก้วเล้งยังร่ำดื่มอย่างเต็มที่ เป็นเวลาสามวันสามคืน หวังให้ตัวเองเมามายพันปี โก้วเล้งกล่าวว่า หากอดสุรา กลับมิสู้ตาย นับเป็นการดื่มสุราครั้งสุดท้าย เท่ากับยุติชีวิตลงด้วยสุราอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 อายุได้ 48 ปี มีงานเขียนมากกว่า 80 เรื่อง

เนี่ยอู้เซ็ง

เนี่ยอู้เซ็งหนึ่งในสามเสาหลักนักเขียนนิยายวรยุทธ กิมย้ง-เนี่ยอู้เซ็ง-โก้วเล้งผลงานที่ขายดีที่สุด กลับเป็นเรื่อง แป๊ะฮวกม้อ นึ่งตึ่ง (Baifa Monyu Jhuan - น.นพรัตน์ แปลใช้ชื่อ นางพญาผมขาว) กับเรื่อง ฉิกเกี่ยมเหียเทียนซัว(Cijian Sia Tianshan - เจ็ดกระบี่ขุนเขาเทียนซาน) เนี่ยอู้เซ็งหนึ่งในสามเสาหลักนักเขียนนิยายวรยุทธ กิมย้ง-เนี่ยอู้เซ็ง-โก้วเล้งที่มา: http://www.niyayjeen.com ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย:• เจ็ดนักกระบี่นางพญาผมขาว / นางพญาผมขาวสามกระบี่สาวกระบี่กู้บัลลังก์ / รอยแหนเงายุทธจักรเนี่ยอู้เซ็ง (ภาษาจีนกลาง ออกเสียง เหลียงอวี่เซิง - Liang Yusheng ) มีชื่อจริงว่า ตั้งบุ้นทง (ภาษาจีนกลางออกเสียงเป็น เฉินเหวินทง - Chen Wuntong ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) เป็นชาวมณฑลกึงไซ (กวางสี - Guangxi Province ) คุณตาและคุณพ่อล้วนเป็นบันฑิตที่มีชื่อเสียง ส่วนทางบ้านพอมีสมบัติพัสถานนับเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ นิวาสถานที่ชนบทอยู่ใกล้กับภูเขาเอี้ยวซัวมักมีนักปราชญ์ปัญญาชนมาพักอาศัยเนี่ยอู้เซ็งจังได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้ทรงความรู้กล่าวกันว่าเมื่ออายุเก้าขวบถึงกับสามารถต่อประโยคแต่งกลอนคู่ขานรับกับคำกลอนประโยค แรกของผู้คงแก่เรียนทีเดียว เนี่ยอู้เซ็งสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยเนี่ยน้ำ (Lingnan University) คณะเศรษฐศาสตร์ แต่โดยส่วนตัวชมชอบศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ แม้แต่เขาเองก็คาดคิดไม่ถึงว่าภายหน้าจะได้เป็นนักเขียนนิยายจีนกำลังภายใน มิหนำซ้ำ ยังเป็นผู้สร้างเส้นทางสายใหม่ให้แก่นิยายจีนกำลังภายในยุคใหม่อีกด้วย เมื่อปี ค.ศ. 1949 หลังสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นสงบลง เนี่ยอู้เซ็ง ก็เดินทางมายังฮ่องกง และทำงานในบริษัทหนังสือพิมพ์รายวัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 ปรากฏครูมวยสองท่าน ประกาศตนว่ามีวิทยายุทธสูงส่ง จึงนัดวันเวลาประลองฝีมือพิสูจน์สความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกัน แต่ขณะนั้นทางฮ่องกงห้ามไม่ให้มีการต่อสู้ชิงชัย ได้แต่ตั้งเวทีลุยไถที่เมืองมาเก๊า ผลปรากฏว่า เจ้าสำนักหมัดไท้เก๊กต่อยหมัดถูกจมูกเจ้าสำนักกระเรียนขาวจนเลือดกำเดาไหล ออกมา การต่อสู้เป็นอันยุติแต่การประลองครั้งนี้ เป็นที่โจษขานกันไม่รู้จบ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อ (ซินหวั่นเป้า - Sin Wan Bao) ฉบับบ่าย เกิดไวพริมชั่ววูบตกลงจะตีพิมพ์นิยายกำลังภายใน เพื่อตอบสนองความต้องการผู้อ่านที่ชมชอบการต่อสู้ และมอบหมายให้เนี่ยอู้เซ็งซึ่งเป็นผู้ควบคุมคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์เป็นผู้เขียนนิยายกำลังภายใน ถึ้งแม้ว่าเนี่ยอู้เซ็งจะปฏิเสธว่าไม่สามารถเขียนได้ แต่บรรณาธิกาชิงลงข้อความในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า จะตีพิมพ์นิยายกำลังภายในฉบันวันพรุ่งนี้ เนี่ยอู้เซ็งได้แต่จับปากกา เขียนเรื่อง เล้งโฮ้ว โต๋วเกียฮั้ว (Longhu Dou Jinghua - มังกรถล่มพยัคฆ์กลางกรุง)โดยใช้นามปากกาว่า เนี่ยอู้เซ็ง ซึ่ง แปลว่า เนี่ยผู้เป็นศิษย์ของอู้ เนี่ยอู้เซ็งอธิบายว่า เขานิยมชมชอบงานเขียนของ แป๊ะอู้ ซึ่งเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในยุคปี ค.ศ. 1930 - 1940 ผู้แต่ง จับยี่กิมจี้เปีย (สิบสองลูกดอกเหรียญทอง ) จึงปวารณาตัวเป็นศิษย์ของท่าน ส่วนคำว่าเนี่ย เป็นเพราะก่อนหน้านั้นเคยใช้นามปากกาว่า เนี่ยหุยยู้ เขียนคอลัมน์ในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ก่อน อุบัติการณ์โดยไม่ได้ตั้งใจครั้งนี้ ได้จุพลุความนิยมของนักอ่านขึ้น ทุกคนเฝ้าติดตามผลงานของเนี่ยอู้เซ็งจากหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน จนเนี่ยอู้เซ็งได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างสรรค์นิบายกำลังภายในยุคึใหม่ และอีกสามปี ให้หลังนามปากกา กิมย้ง ก็กำเนิดขึ้น จากเรื่อง จือเกี่ยมอึงชิ้วลก ( แปลว่า ตำนานอักษรกระบี่ - น.นพรัตน์ แปล ใช้ชื่อว่า จอมใจจอมยุทธ์ ) ซึ่งนำลงในหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อ เช่นกัน ยุคสมัยนั้น นิยายกำลังภายในไม่ได้รับการยกย่องเท่าที่ควร เฉกเช่นคนเล่นปาหี่ เปิดการแสดงเร่ร่อน ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมเท่าใดนัก จวบจนกระทั่ง เนี่ยอู้เซ็ง และ กิมย้ง เขียนนิยายกำลังภายใน สภาพการณ์ค่อยเปลี่ยนไป หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ทั้งฮ่องกง ไต้หวัด สิงคโปร์ มาเลเซีย ล้วนแย่งซื้อนิยายกำลังภายในไปลงประจำ ตอนแรกหนังสือพิมพ์เซ้าส์อีสเอชีย คัดลอกเรื่องจากหนังสือพิมพ์ฮ่องกงนำลงต่อ แต่เนื่องด้วยต่างพากันลงพิมพ์หลายฉบับ จึงไม่เป็นที่ดึงดูดใจนักอ่าน หนังสือพิมพ์ที่มีฐานะดี จึงติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์จากนักเขียนฮ่องกง นำลงพร้อมกับหนังสือพิมพ์ฮ่องกงโดยให้ค่าลิขสิทธิ์ สูงกว่า หนังสือพิมพ์ฮ่องกงเสียอีก นิยายกำลังภายในของ เนี่ยอู้เซ็ง ชมชอบใช้ชื่อบทแบบโบราณ มิหนำซ้ำมีกลิ่นอายโคลงกลอนอย่าเข้มข้น โดยเฉพาะแทบทุกเรื่อง ต้องมีลำนำเพลง เปิดเรื่องด้วยถ้อยคำไพเราะ ทั้งยังใช้สำนวนเป็นภาษาแบบแผน จึงเป็นผลงานที่กอบด้วยวิญญาณจีนอย่างเปี่ยมล้น นอกจากนั้นยังผูกเรื่องราวเข้ากับประวัติศาสตร์จีนอย่างสอดคล้อง ดังนั้นจึงปรากฏเหตุการณ์จริง และบุคคลจริงในประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง จนได้รับการกล่าวขานว่า เป็นผู้สร้างนิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์จีนได้ดีที่สุด เนี่ยอู้เซ็ง มีผลงานทั้งสิ้น 38 เรื่อง ในส่วนตัวของเจารักชอบ เรื่อง เพี้ยจงเฮียบอี้ย (น.นพรัตน์แปล ใช้ชื่อว่า กระบี่กู้บัลลังก์ ) เรื่อง ฮุ้นนไฮ้เง็กเก็งอ้วง (บุพเพสันิวาสเกาทัณฑ์หยก) และเรื่อง นึ่งตี่คี้เอ็งฮ้ง (จักรพรรดิ์หญิงยอดวีรบุรุษ) ซึ่งเขียนถึงเรื่องราวของ พระนางบูเช็กเทียน (หวูเจ๋อเทียน) ฮ่องเต้หญิงองค์ดียวของจีน แต่ผลงานที่ขายดีที่สุด กลับเป็นเรื่อง แป๊ะฮวกม้อ นึ่งตึ่ง (Baifa Monyu Jhuan - น.นพรัตน์ แปลใช้ชื่อ นางพญาผมขาว) กับเรื่อง ฉิกเกี่ยมเหียเทียนซัว(Cijian Sia Tianshan - เจ็ดกระบี่ขุนเขาเทียนซาน) ซึ่งถูกขโมยพิมพ์มากที่สุด ที่ผ่านมามีคนเปรียบเทียบผลงานระหว่างกิมย้งกับเนี่ยอู้เซ็งว่ากิมย้งสามารถผสมผสานลักษณะ การเขียนของยิยายตะวันตกเข้ากับนิยายกำลังภายใน ส่วนเนี่ยอู้เซ็งคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นจีนมากที่สุด กิมย้งถนัดในการสร้างตัวละครฝ่ายอธรรม ส่วนเนี่ยอู้เซ็งเจนจัดในการสร้างวีรบุรุษเชี่ยวชาญอักษร และวีรสตีที่เปิดเผยองอาจ ผู้กล้าหาญที่ปล่อยตัวไม่นำพา ดังจะเห็นได้จาก เตียตัวปัง ในกระบี่กู้บัลลังก์ อสุรีหยก จาก นางพญาผมขาว และ กิมสี่ยุ้ย จาก ฮุ้นไฮ้เง็กเก็งอ้วง (บุพเพสันนิวาสเกาฑัณฑ์หยก) น่าเสียดายที่ยุคหลัง เนี่ยอู้เซ็งรับงานเขียนมากเกินไป มักเขียนนิบายพร้อมกัน 2 - 3 เรื่อง เป็นเหตุให้คุณภาพงานด้อยไป จนมีผู้วิจารณ์ว่า ผลงานในยุคแรกของเนี่ยอู้เซ็ง สมบูรณ์แบบมากกว่าผลงานยุคหลัง ปัจจุบัน เนี่ยอู้เซ็งวางมือจากการเขียนนิยายกำลังภายในแล้ว แต่ยังทำงานปรับปรุงแก้ไขผลงานทีผ่านมา ทยอดยจัดพิมพ์จำหน่าย โยขายต้นฉบับให้ก่สำนักพิมพ์เทียนตี่ของฮ่องกง และสำนักพิมพ์ฮวงฮุ้นซี่ต่อ ของไต้หวัน พร้อมกับตั้งปณิธานว่าจะเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ผากให้กับแผ่นดิน โดยจะเขียนเรื่องราวของ ไท้เพ้งเทียนก๊ก (ไท้ผิงเทียนกว๋อ - อาณาจักรเมืองแมนแดนสวรรค์ หรือ กบฏไท้ผิง ) เป็นเรื่องแรก เนี่ยอู้เซ็งนอกจากจะเป็นนักเขียนกำลังภายในแล้ว ยังเป็นมือหมากล้อม (โกะ) ฝีมือเยี่ยม โดยหัดเล่นหมากล้อมตั้งแต่อายุเก้าขวบ อาจารย์คนแรกของเขาคือคุณตาของเขานั่นเอง และในปี ค.ศ. 1977 สมาคมโกะของญี่ปุ่น และชมรมหมากล้อมของฮ่องงกง จัดการประลองหมายล้อมขึ้นที่ฮ่องกง เนี่ยอู้เซ็งเข้าแข่งขันในนามตัวแทนของฮ่องกงปรากฏว่า โค่นมือโกะจากญี่ปุ่น ชื่อ มาจึโมโต ฟุคุโอะ ลงได้ นอกจากนั้นเนี่ยอู้เซ็งยังใช้นามปากกา ตั้งลู่ เขียนบทวิจารณ์เกี่ยวกับหมากล้อม นำลงในหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อ ทั้งยังมีการจัดพิมพ์รวมเล่มอีกด้วย ความหลงงมงายในหมากล้อมของเนี่ยอู้เซ็ง ได้รับการบันทึกว่า เมื่อปี ค.ศ. 1950 เนี่ยอู้เซ็งเพิ่งแต่งงาน เดินทางไปฮันนีมูนที่กรุงปักกิ่ง แต่เพราะคันไม้คันมือ จึงและไปเล่นหมากล้อมที่ชมรมหมากล้อมในกรุงปักกิ่ง พบพานคู่มือที่ทัดเทียมกัน พันตูตั้งแต่ยามค่ำ ถึงเที่ยงคืน ตอนนั้นร้านอาหารในกรุงปักกิ่ง ปิดร้านตั้งแต่สามทุ่ม คำคืนนั้นนี่ยอู้เซ็งได้แต่ทนหนาวไปทั้งคืน ทำให้เจ้าสาวต้องยืนพิงหน้าต่าง ราอคอยสามีคืนกลับ รสชาตินั้นเป็นอย่างไร ต้องถามไถ่ภรรยาคู่ชีวิตของเนี่ยอู้เซ็งผู้สุภาพแล้ว หากจะใช้คำจำกัดความเปรียบเปรยผลงานของเนี่ยอู้เซ็ง สมควรยกอ้างข้อความของนักโคลงกลอน เล้าแป๊ะตวน ที่มอบให้แก่เนี่ยอู้เซ็ง
ชาติบ้านเมืองเสื่อมโทรม แผ่นดินใหญ่สั่นคลอน บุตรธิดาหาญกล้า ไม่เป็นสองรองใคร ขลุ่ยหยกเป่าถึง ตอนวิญญาณสลาย ชลเนตรแห้ง นัยนากลายเป็นสายเลือด

แปดเทพอสูรมังกรฟ้า

แปดเทพอสูรมังกรฟ้า จีนแต้จิ๋ว: เทียนเล้งโป๊ยโป๋ว จีนกลาง: 天龍八部 เทียนหลงปาปู้อังกฤษ: Demi-Gods and Semi-Devils)
กิมย้งเขียนเรื่อง เทียนเล้งโป๊ยโป๋ว แปดเทพอสูรมังกรฟ้าในปี พ.ศ. 2506-2510 ลงในหนังสือพิมพ์เม้งป่อ (หมิงเป้า) จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 และปรับปรุงครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2547จำลอง พิศนาคะ แปลเรื่องนี้ ในปี พ.ศ. 2522 ตั้งชื่อภาษาไทยว่า มังกรหยก ภาค 5 หรือ ภาคสมบูรณ์ เพื่อให้เป็นชุดเดียวกับมังกรหยกที่ได้รับความนิบมสูงสุดก่อนหน้า อันเป็นเหตุผลการตลาด ฉบับภาษาไทย แต่เรื่องนี้ที่เป็นที่รู้จักมากกว่าในชื่อ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ซึ่งเป็นชื่อของฉบับพากษ์ไทยของ น. นพรัตน์สถิติการพิมพ์ส. เรืองอรัญ แปล ใช้ชื่อ เดชพญามังกร สนพ สาส์นบันเทิง พิมพ์ปี พ.ศ. 2508 จำนวน 7 เล่มจบจำลอง พิศนาคะ แปล ใช้ชื่อ มังกรหยก ภาคสมบูรณ์ (ภาค 5) สนพ บันดาลสาส์น พิมพ์ปี พ.ศ. 2520 จำนวน 15 เล่มจบจำลอง พิศนาคะ สนพ บรรณกิจ พิมพ์ปี พ.ศ. 2522 จำนวน 15 เล่มจบจำลอง พิศนาคะ สนพ สร้างสรรค์ พิมพ์ปี พ.ศ. (พร้อมกล่อง) จำนวน 8 เล่มจบ น. นพรัตน์ แปล ใช้ชื่อ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า สนพ สยามสปอร์ตซินดิเคท พิมพ์ปี พ.ศ. 2534 จำนวน 8 เล่มจบ น. นพรัตน์ สนพ สยามอินเตอร์บุ๊ค พิมพ์ปี พ.ศ. จำนวน 4 เล่มจบ (ปกแดง) น. นพรัตน์ สนพ ดอกหญ้า พิมพ์ปี พ.ศ. 2537 จำนวน 4 เล่มจบ น. นพรัตน์ สนพ สยามอินเตอร์บุ๊ค พิมพ์ปี พ.ศ. 2549 จำนวน 5 เล่มจบ
Mu Wan Qing and Duan Yu were filming a scene whereby they were being pursued, and they were fleeing for their lives. Mu Wan Qing fainted from her injuries in the scene, and gave Duan Yu a great fright, and he kept calling her name. When she woke up and saw the person she loved, she cried uncontrollably. Even when the director yelled "Cut!", she still continued to cry. Indeed, she was acted till she could not separate herself from her character! ดาราคนโปรดของข้าพเจ้า Name: Jiang Xin Chinese Name: 蒋 欣 Birthday: May 08, 1983 Gender: Female Height: 5'6" (170 cm) Weight: 56 kg Location: China Native place: Hunan Present place: Beijing At the age of Seven, Jiang Xin entered Zhengzhou Children Art Group, and at the age of eight entered Henan Province Children Art Group. Jiang Xin graduated from Henan Province Art School Film And Television. At the age of Nine, Jiang Xin started to attend the film and television plays, up to now altogether participated in 18 film and television plays. Jiang Xin acted the leading role in the soap opera 〈坠子皇后〉 Jiang Xin's video clips at you tubehttp://www2.thaitv3.com/board2005/viewtopic.php?t=980&postdays=0&postorder=asc&start=0 "แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" เป็นผลงานลำดับที่ 11 ของกิมย้ง นับตั้งแต่ชื่อเรื่อง และที่มาของแรงบันดาลใจ แสดงความใฝ่ใจในพุทธศาสนาของเขา ชื่อภาษาจีน "เทียนหลงปาปู้" หมายถึง เทพและอมนุษย์ 8 จำพวก ในตำนานของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์เฉพาะตนแตกต่างกันไป ประกอบด้วย1. เทพ เป็นผู้มีบุญกุศล อาศัยอยู่ในสวรรค์ที่พรั่งพร้อม และอิ่มทิพย์ ทว่า ยังไม่อาจละกิเลสจากโลกียสุข เช่น ยังอยากได้หญิงงามของอสูร เป็นต้น2. อสูร เป็นอมนุษย์ในภพภูมิที่หยาบกว่าเทพ หากเป็นชายจะสุดอัปลักษณ์ หากเป็นหญิงจะมีรูปโฉมสะคราญ อสูรมักทำสงครามกับเทพบ่อยครั้ง เพราะต่างริษยาในกันและกัน อสูรอยากได้สวรรค์และความอิ่มทิพย์ของเทพ เทพอยากได้นางงามและภักษาหารรสโอชาของอสูร ต่างสัประยุทธ์กันจนฟ้าดินปั่นป่วน3. มังกร หรือนาค เป็นผู้สืบทอดพิทักษ์ศาสนา เปรียบกับพระชั้นผู้ใหญ่ หรืออุปถัมภกคนสำคัญ4. ครุฑ เป็นนกที่ยิ่งใหญ่ เมื่อกางปีกออกจะครอบคลุมดินฟ้าสามแสนหกหมื่นลี้ และมีฤทธิ์มาก สามารถสร้างความสั่นสะเทือนให้แผ่นดินและจักรวาลได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ในหนึ่งวัน ต้องกินมังกร 1 ตัว และลูกมังกร 500 ตัวเป็นอาหาร มักกล่าวกันว่า วีรบุรุษคนสำคัญคือครุฑมาเกิด5. ยักษ์ เป็นภูตประเภทหนึ่ง อยู่ระหว่างพรมแดนของเทพ อสูร และมนุษย์ มีความแข็งแรง คล่องแคล่ว เป็นกำลังที่เคลื่อนไหวได้ทั้งดีและชั่ว บางยักษ์ช่วยคุ้มครองมนุษย์ บางยักษ์ชอบจับมนุษย์กิน6. คนธรรพ์ เป็นเทพมังสวิรัติ ไม่แตะต้องเนื้อสัตว์สุรา แต่หลงใหลในความงามและกลิ่นหอม ส่วนตนมีฉายาและกลิ่นหอมชวนให้ผู้คนลุ่มหลง ทั้งยังแปลงกายเปลี่ยนรูปได้สุดหยั่งคะเน7. กินนร เป็นเทพที่ชอบร้องรำทำเพลง และสร้างสีสันสำราญใจให้แก่ชาวสวรรค์8. มโหราค เป็นอมนุษย์ชั้นต่ำต้อยที่สุด บ้างมีลำตัวเป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นงู บ้างมีลำตัวเป็นงู ศีรษะเป็นมนุษย์ มีฤทธิ์มาก แต่ไม่มีใครอยากยุ่งเกี่ยวด้วยนักเทพอสูร 8 เหล่าในความเปรียบทางธรรม ยังหมายถึง ความเปิดกว้างโดยเมตตาของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ว่าเผ่าพันธุ์วรรณะใด ล้วนมีสิทธิที่จะสดับฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า สามารถแสวงหาความเข้าใจ ความหลุดพ้นจากทุกข์ และบรรลุธรรมได้โดยเสมอภาคกันทำไมเรื่องถึงมีชื่อว่า "แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" แล้วแปดเทพอสูรมังกรฟ้าคือใคร บ้าง ตอนแรก กิมย้ง ต้องการที่จะสร้างตัวละครเอกขึ้นมาถึง 8 ตัวละคร เป็นตัวแทนของเทพกับอมนุษย์ 8 ชนิด อันประกอบด้วย เทวดา มังกร (นาค) ครุฑ คนธรรพ์ กินนร ยักษ์ อสูร และ มโหราค (ราหู) แต่พอแต่ง ไป แต่ง ไป (เข้าใจว่า) กิมย้ง ไม่อาจจะสร้างตัวละครขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ได้ครบทั้ง 8 ตัว แต่ด้วยชื่อเรื่อง ดูโอ่อ่า ลงตัว จึงได้คงชื่อเรื่องเอาไว้
ปัญหาเริ่องวิชาสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรและเพลงไม้เท้าตีสุนัขที่เป็นวิชาประจำพรรคกระยาจกในเรื่อง เคียวฟง หรือ เซียวฟง ที่เป็นประมุขพรรคกระยาจกในตอนท้ายเรื่องนั้นได้ฆ่าตัวตาย ทำให้วิชาสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรและเพลงไม้เท้าตีสุนัขที่เป็นวิชาประจำพรรคไร้ผู้สืบทอด เนื่องจากสองยอดวิชานี้จะถ่ายทอดให้กับประมุขพรรคเท่านั้น หรือถ่ายทอดให้กับศิษย์แต่เคียวฮงทั้งไม่ได้รับศิษย์ ทั้งยังถูกขับออกจากพรรคและประมุขพรรคยังไม่ได้ถูกคัดเลือกขึ้นมาทดแทน ถึงแม้จะมีอิ้วถังจือดำรงตำแหน่งพรรคในขณะนั้น แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของเหล่าขอทาน ซ้ำยังภายหลังอิ้วถังจือก็ไม่ได้อยู่ในพรรคอีกต่อไป เหตุนี้เองจึงสงสัยว่าวิชาสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรและเพลงไม้เท้าตีสุนัขในเรื่อง "มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๊งยอดวีรบุรุษ" ซึ่งมี ขอทานอุดร อั้งฉิกกง อั้งปั้งจู้ เป็นประมุขพรรคกระยาจกรับสืบทอดยอดวิชาจากที่ใด ในเมื่อ เรื่อง "มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๊งยอดวีรบุรุษ" เป็นเหตุการณ์หลังเรื่อง "แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" ฉากหลังเรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้า เป็นประวัติศาสตร์ช่วงก่อนมังกรหยกภาคแรกประมาณ 100 ปีก่อนหน้านั้น ราชวงศ์ซ้อง (ซ่ง) ดำเนินนโยบายลิดรอนอำนาจขุนศึก และนิยมลัทธิขงจื๊อใหม่ กำลังของส่วนกลางจึงไม่เข้มแข็งนัก ช่วงเวลาตามท้องเรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้า แผ่นดินจีนแบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร ของหลายชนเผ่าตรงกลางคือต้าซ้องของชาวฮั่น ด้านเหนือคือต้าเหลียวของชาวชี่ตัน ด้านใต้คือต้าหลี่ ด้านตะวันตกเฉียงเหนือคือซีเซี่ย และด้านตะวันตกเฉียงใต้คือถู่ฝาน ต่างฝ่ายต่างอยากกลืนอาณาจักรอื่น และอาณาจักรที่ล่มสลายไปแล้วอย่างเยี่ยน ก็มีคนคิดฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ศึกสงครามจึงไม่สงบโดยง่ายตัวละครมีมาก เรื่องราวก็ซับซ้อน กิมย้งใช้วิธีเล่าถึงทีละคน ทีละเหตุการณ์ ไล่เรียงกันไป หากอุปมาเทพอสูร 8 เหล่า เป็นตัวละครต่างๆ อาจเปรียบได้ว่าตัวละครแต่ละจำพวก คล้ายต่างคนต่างอยู่ และต่างมีปัญหาของตนเอง แต่กลับเชื่อมโยงเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงเข้ามาอยู่ในวังวนแปดเทพอสูรมังกรฟ้า แปดเทพอสูรมังกรฟ้าจึงไม่ใช่นิยายกำลังภายในที่ว่าด้วยการต่อสู้ระหว่างธรรมะกับอธรรม หากเป็นการต่อสู้ระหว่างคนกับชีวิตที่เป็นทุกข์จากกิเลสที่แตกต่างกัน และแปรเปลี่ยนไปสุดจะหยั่ง

ผู้กล้าหาญคะนอง-กระบี่เย้ยยุทธจักร-เดชคัมภีร์เทวดา

คำอธิบายจากหนังสือสกัดจุดยุทธจักรมังกรหยกเฉี่ยเหงากังโอ๊ว (เซี่ยวเอ้าเจียงหู) เรื่องนี้ น.นพรัตน์แปล ครั้งแรกชื่อเรื่อง 'ผู้กล้าหาญคะนอง' แต่ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตามภาพยนตร์โทรทัศน์ว่า 'กระบี่เย้ยยุทธจักร' เฉี่ยแปลว่ายิ้ม, หัวเราะ เหงา แปลว่า ผยอง, หยิ่ง กังโอ๊ว แปลว่ายุทธจักร รวมแล้วพอจะแปลเอาความได้ว่า 'ยิ้มผยอง (ใน) ยุทธจักร' หรือ 'ยิ้มผยอง หยันยุทธจักร' เรื่องนี้เป็นยอดเขาแห่งความสำเร็จอีกยอดหนึ่งของกิมย้งเมื่อเรื่อง 'แปดเทพอสูรมังกรฟ้า' โด่งดังในบรรณพิภพนั้น ผู้อ่านเป็นอันมากเชื่อว่ากิมย้งขึ้นมาถึงยอดเขา สูงสุดแล้ว คงไม่สามารถสร้างนิยายชั้นเยี่ยมแหวกแนวเรื่องนี้ไปได้อีก ความไม่เด่นของเรื่อง 'เทพบุตรทลาย ฟ้า' ยิ่งทำให้นักอ่านวิจารณ์เหล่านั้นเชื่อว่า ฝีมือของเขาถึงจุดอิ่มตัวแล้วแต่แล้วกิมย้งก็แหวกวงล้อมตัวเองออกมาได้อีก ในเรื่อง 'แปดเทพอสูรมังกรฟ้า' มีคนสารพัดชนิดแต่ไม่มี คนอย่างเหล็งฮู้ชง พอเหล็งฮู้ชงออกสู่โลกหนังสือก็เป็นผู้นำนิยายกำลังภายในเข้าสู่อาณาจักรใหม่คำตามโดยท่านกิมย้งบุคคลที่ชาญฉลาดเจ้าปัญญา ผู้ที่ห้าวหาญมีกำลัง ส่วนใหญ่ล้วนมักใหญ่ใฝ่สูง บรรทัดฐานของธรรมจริยา แบ่งแยกพวกเขาเป็นบุคคลสองประเภท ผู้ที่มีเป้าหมายอยู่ที่สร้างสรรค์ความสุขส่วนรวม นับเป็นคนดี ผู้ที่เห็น แก่ลาภยศสรรเสริญส่วนตนทำร้ายผู้อื่น นับเป็นคนเลว ความเป็นคนดีหรือเลวใหญ่หลวงเพียงไหนขึ้นอยู่กับ ระดับและจำนวนของการเอื้ออำนวยประโยชน์และสร้างความเสียหายขึ้นประวัติศาสตร์ทางการเมืองส่วนใหญ่เป็นคนเลวครองอำนาจ ดังนั้นมีคนคิดอุบัติขึ้นแทนที่ มีบ้างคิดกระทำการ เปลี่ยนแปลง แต่มีผู้คนอีกประเภทหนึ่งไม่ฝากความหวัง ต้องการเปลี่ยนแปลง และไม่ต้องการสุมหัวรวมกับ ผู้ครองอำนาจ ทางเลือกของพวกเขาคือถอนตัวจากวังวนแห่งการแก่งแย่งช่วงชิง ครองตัวอยู่อย่างสงบ ดัง นั้นจึงก่อเกิดฝ่ายครองอำนาจ ฝ่ายกบฏ ฝ่ายเปลี่ยนแปลงและผู้สันโดษขึ้นทัศนคติที่สืบทอดต่อกันมาของจีน กระตุ้นเตือนให้ผู้คนมุมานะหมั่นศึกษาเพื่อเข้ารับราชการหัดเยี่ยงขงจื้อที่ กระทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่กับผู้สันโดษก็ให้คำวิจารณ์อย่างสูง ผู้สันโดษไม่ได้มีส่วนสร้างสรรค์ต่อสังคม แต่การกระทำของพวกเขาแตกต่างกับผู้แก่งแย่งชิงอำนาจ ชี้นำขอบข่ายของการดำรงคงอยู่ อีกประการหนึ่ง ด้านธรรมจริยา ชาวจีนให้การเรียกร้องต่อผู้คนอย่างกว้างๆ ขอเพียงไม่ทำร้ายถึงผู้อื่น ก็นับเป็นคนดีในหนังสือลุ่นงื่อ (ตรรกบท) เขียนถึงผู้สันโดษมากหลาย ประกอบด้วยคนเฝ้าประตูผู้แกล้งบ้าชอเล็กทง แป๊ะอี้ เจ่กฉี้ ง้อตง อี้อิด จูเจียง ลิ่วเตียหุยทั้งหลาย ขงจื้อให้การยกย่องพวกเขาเหล่านั้น ถึงแม้ว่าจะไม่เห็น ด้วยกับวิธีการของพวกเขาก็ตามขงจื้อแบ่งสันโดษเป็นสามชนิด เช่น แป๊ะอี้เป็นผู้ไม่ละทิ้งปณิธานตัวเอง ไม่ยอมสูญเสียศักดิ์ศรีตัวเอง เช่น ลิ้วเหียหุยยอมสูญเสียปณิธานและศักดิ์ศรี แต่ประพฤติชอบด้วยเหตุผล เช่นบ้อตงที่ถอนตัวเร้นกาย วิจารณ์ อย่างอุกอาจ ไม่กระทำเรื่องชั่วร้าย ไม่เข้าร่วมกับการเมืองเมื่อเข้าร่วมกับบทบาททางการเมือง มิอาจไม่ละทิ้งปณิธานและศักดิ์ศรี ประการสำคัญอยู่ที่ "ตัวบุคคล" หากรับ ราชการเพื่อผลประโยชน์ของปวงชน มิเห็นจะไม่ได้ ขอเพียงยึดมั่นในหลักการรับใช้ปวงชน ไม่คำนึงถึงชื่อ เสียงลาภยศส่วนตัว ถึงแม้มิอาจไม่ทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่ก็กล่าวได้ว่าเป็นผู้สันโดษข้าพเจ้าเขียนนิยายกำลังภายใน เพื่อต้องการเขียนธาตุแท้ใจคอของคนเช่นเดียวกับนวนิยายส่วนใหญ่ ระหว่าง เขียนกระบี่เย้ยยุทธจักร สาธารณรัฐประชาชนจีนเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมแก่งแย่งชิงอำนาจอย่างรุนแรง ฝ่าย ครองอำนาจกับฝ่ายกบฏเพื่อช่วงชิงซึ่งอำนาจ ดำเนินวิธีการต่างๆนานา แสดงออกซึ่งจุดด่างในธาตุแท้ใจคอ ของคน ข้าพเจ้าเขียนบทนำให้กับหนังสือพิมพ์เม้งป่อ แสดงปฏิกิริยาต่อการกระทำอันสกปรกโสมมทางการเมือง อย่างรุนแรง ย่อมเกิดผลสะท้อนต่อนิยายกำลังภายใน ซึ่งเขียนติดต่อกันเป็นประจำทุกวันนิยายเรื่องนี้ไม่ได้มีเจตนาโจมตีการปฏิวัติวัฒนธรรม หากแต่อาศัยตัวละครในหนังสือตีแผ่ปรากฏการณ์โดยทั่วไป ในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของจีนซึ่งดำเนินติดต่อกันมาสามพันกว่าปี นิยายที่เขียนโจมตีไม่มีความหมายเท่าใด เหตุการณ์ทางการเมืองผันผวนอยู่ทุกเมื่อ มีแต่การตีแผ่ธาตุแท้ใจคอของคนจึงมีคุณค่าระยะยาวกว่า การแก่งแย่ง ชิงอำนาจโดยไม่คำนึงถึงทุกสิ่งเป็นสภาพการณ์ขั้นพื้นฐานในวิถีชีวิตทางการเมืองทั้งในและนอกประเทศ หลายพัน ปีที่ผ่านมาเป็นเช่นนี้ หลายพันปีให้หลังเกรงว่ายังคงเป็นเช่นนี้ยิ่มอั้วเกีย ตังฮึงปุกป่าย งักปุกคุ้งและจ้อแนเซี้ยง ขณะที่ข้าพเจ้านึกวาดมโนภาพไม่ใช่ยอดฝีมือชาวบู๊ลิ้ม หากแต่ เป็นนักการเมือง ลิ้มเพ้งจือ เฮี่ยงมุ่งเทียน เจ้าอาวาสปึงเจ่ง ชงฮือเต้าเจี้ยง เตี่ยวเอ้ยซือไถ่ มกไต้ซิงแซ อื้อชังไฮ้ ทั้งหลายก็เป็นนักการเมือง บุคคลหลากสีหหลากสันเหล่านี้ มีอยู่ในทุกยุคทุกสมัย คาดว่ามีอยู่ในประเทศอื่นด้วยคำขวัญ "อายุยั่งยืนหมื่นปี สยบทุกแคว้นธรณี" ได้เขียนในหนังสือตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 ยิ่มอั้วเกี้ยครองอำนาจใหญ่ ก่อเกิดเป็นสภาพฟอนเฟะ นับเป็นปรากฏการณ์โดยทั่วไปของธาตุแท้ใจคอผู้คนเหล่านี้ ไม่ได้ต่อเติมหรือแก้ไขในการ ปรับปรุงใหม่ครั้งนี้แต่อย่างไรขณะที่กระบี่เย้ยยุทธจักรนำลงในหนังสือพิมพ์เม้งป่อ หนังสือพิมพ์ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม ภาษาฝรั่งเศสในไซ่ง่อน จำนวนยี่สิบเอ็ดฉบับได้นำลงพร้อมกัน ระหว่างมีการประชุมในรัฐสภาเวียดนามใต้ มักมีสมาชิกรัฐสภากล่าวหาอีก ฝ่ายหนึ่งเป็นงักปุกคุ้ง ซึ่งเป็นตัวแทนของเผด็จการ คาดว่าสถานการณ์ทางการเมืองของเวียดนามใต้ตอนนั้นเกิด การผันผวน บุคคลทั่วไปบังเกิดความสนใจต่อการต่อสู้ทางการเมืองเป็นพิเศษเหล็งฮู้ชงมีนิสัยสันโดษมาแต่กำเนิด ไม่มีความสนใจต่ออำนาจ เอี่ยงเอี้ยงก็เป็นผู้สันโดษ นางมีอำนาจฆ่าฟันผู้ห้าว หาญชาวยุทธจักร แต่ยินยอมเร้นกายในตรอกคับแคบเมืองลกเอี้ยง ดีดพิณเป่าขลุ่ยบำเรออารมณ์ ในชีวิตนาง เน้นถึงอิสระส่วนตัว ความสำคัญเพียงหนึ่งเดียวคือความรัก โกวเนี้ยนางนี้ขวยเขินเอียงอาย แต่ด้านความรักนาง เป็นฝ่ายเสนอ เหล็งฮู้ชงตกหลุมรักงักเล้งซังโดยไม่อาจควบคุมตัวเอง มีแต่ตอนอยู่บนทางหลวงข้างดงเกาเหลียง ระหว่างที่โดยสารรถคันเดียวกับเอี่ยงเอี้ยง ความรักอันงมงายที่มีแต่งักเล้งซังค่อยสูญสลาย ได้รับการปลด เปลื้องทางใจ ตอนจบของนิยายเรื่องนี้ เอี่ยงเอี้ยงเกาะกุมมือเหล็งฮู้ชงไว้ ทอดถอนใจกล่าวว่า "คิดไม่ถึงเรา ยิ่มเอี่ยงเอี้ยงก็ถูกวานรใหญ่ตัวหนึ่งผูกมัดไว้ไม่อาจแยกจากกัน" ความรักของเอี่ยงเอี้ยงลงเอยอย่างสุขสมิ แต่ อิสระของเหล็งฮู้ชงกลับถูกผูกมัดไว้ อาจบางทีมีแต่ความรักข้างเดียวของงี้นิ้ม อิสระของเขาจึงไม่ได้ถูกผูกมัดคนมีชีวิตในโลก ไม่สามารถมีอิสระสมบูรณ์พร้อม คิดหวังปลดเปลื้องทุกสิ่ง ได้คิดโดยปรุโปร่ง มิใช่วิสัยของผู้คน มิใช่วิสัยของผู้คนธรรมดา ผู้คนที่กระตือรือร้นต่อการเมืองและมัวเมาในอำนาจ ถูกความทะเยอทะยานผลักดันให้ กระทำเรื่องราวที่ผิดมโนธรรมประจำใจแท้ที่จริงเป็นบุคคลที่น่าเวทนาในศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาของจีน ไม่ว่ากาพย์กลอนร้อยแก้ว บทละคร ภาพวาดการแสวงหาความปลดปล่อย ของนิสัยจำเพาะเป็นหัวข้อที่โดดเด่นที่สุด ยุคสมัยยิ่งปั่นป่วนชีวิตราษฎรยิ่งลำบากยากแค้น หัวข้อนี้ยิ่งโดดเด่นกว่า เดิม"คนอยู่ในยุทธจักร ไม่เป็นตัวของตัวเอง" คิดถอนตัวเร้นกายมิใช่เรื่องง่ายดาย เล้าเจียฮวงแสวงหาอิสระแห่งศิลปะ ยึดมั่นในมิตรจิตมิตรใจ คิดล้างมือในอ่างทอง สี่สหายกังหนำซ่อนตัวเร้นกายในหมู่บ้านเหมย หวังเสพสุขจากพิณ หมากรุกพู่กันภาพวาด พวกเขาล้วนทำไม่ได้ต้องพลีชีวิตไป ทั้งนี้เพราะไม่เป็นที่ยอมรับของการแก่งแย่งชิงอำนาจทาง การเมืองสำหรับก๊วยเจ๋งที่เป็นวีรบุรุษที่แท้ พลีชีพเพื่อชาติเพื่อราษฎร ยิ่งเป็นที่เด่นชัดด้านธรรมจริยา เหล็งฮู้ชงมิใช่วีรบุรุษ หากแต่เป็นผู้สันโดษที่แสวงหาอิสรเสรีและการปลดปล่อยของนิสียจำเพาะ เหล็งฮู้ชงกลับมีนิสัยคึกคะนอง ไม่ยอมถูก ควบคุมบังคับ ระหว่างอยู่บนผาไม้ดำ ไม่ว่าเอี้ยเน้ยเต็งหรือยิ่มอั้วเกี้ยครองอำนาจ ผู้อื่นเพียงเผยอยิ้ม จะเผชิญเภท ภัยฆ่าฟันถึงแก่ชีวิต เขากลับไม่นำพา ความอิสรเสรีของการยิ้มเย้ยยุทธจักรคือเป้าหมายที่ชนชั้นเหล็งฮู้ชงเสาะแสวงหาทั้งนี้เพราะต้องการเขียนอุปนิสัยโดยพื้นเพทั่วไป และปรากฏการณ์ปรกติวิสัยทางการเมือง ดังนั้นนิยายเรื่องนี้ไม่ได้ มีฉากประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงออกว่าเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยกิมย้งพฤษภาคม 1980

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วิวัฒนาการของนิยายกำลังภายใน 2

นิยายกำลังภายในจีนแบบใหม่ เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1919 เป็นต้นมา มีกระแสต่อต้านชาวต่างชาติของชาวจีนสูงมาก มีการปรับปรุงงานเขียนนิยายให้มีสำนวน โครงเรื่อง ให้โดดเด่นกว่านิยายแปลของทางตะวันตก จนมาเป็นสำนวนนิยายจีนกำลังภายในในปัจจุบัน โดยผู้บุกเบิกที่สำคัญมีอยู่ 5 ท่าน (จากคำนิยมของคุณก่อศักดิ์ ในเรื่อง ผู้กล้าอาชาเหล็ก) คือ 1. เพ้งกังปุกเสี่ยวเซ็ง จากเรื่อง ตำนานผู้กล้าหาญยุทธจักร 2. โฮ้ยจูเล้าจู้ (หวนจูโหล่วจู) จากเรื่อง ศึกเทพยุทธ์เขาซูซัน 3. แป๊ะอู่ (ไป่หลี่) จากเรื่อง สิบสองลูกดอกเหรียญทอง 4. แต้เจ่งอิ้ง (เจิ้นเจิ้นอิ้ง) จากเรื่อง เจ้ากรงเล็บอินทรี 5. เฮ้งโต่วโล้ว (หวังตู้หลู) จาก เบญจภาค ชุด กระเรียน-ม้าเหล็ก (เป็นแนวภาคต่อเนื่อง เรื่องแรก ซึ่งกิมย้ง น่าจะได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนนิยายจีนไตรภาค มังกรหยก มาจากเรื่องนี้) ตอนช่วงจีนเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ รู้สึกว่า นิยายจีนจะสะดุดหยุดชะงักไป เท่าที่ทราบมา เฮ้งโต้วโล้ว ถูกพวก เรดการ์ด เนรเทศไปตายที่ชนบทอย่างเงียบๆ นิยายจีนกำลังภายในจึงมาเฟื่องฟู ในทางแถบฮ่องกง และไต้หวัน แทน

วิวัฒนาการของนิยายกำลังภายใน

วิวัฒนาการของนิยายกำลังภายในหยุ่นฉวน เขียนไว้ในหนังสือ “เจียงหูเหวินฮั่ว” (วัฒนธรรมยุทธจักร) ว่า วีรธรรมยุทธนิยายของจีน แบ่งได้ 4 ยุค คือ1.ยุคราชวงศ์ฉินและฮั่น จนถึง ราชวงศ์สุยและถัง2.ยุคราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง สองยุคนี้อาจเรียกรวมกันได้ว่า นิยายกำลังภายในแบบโบราณ3.ยุคนิยายกำลังภายในแบบเก่า4.ยุคนิยายกำลังภายในแบบใหม่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงราชวงศ์ซ่งและหยวน แต่ดูจากลักษณะวรรกรรมแล้วควรจัดอยู่ใน 2 ยุคแรก เป็นช่วงรอยต่อระหว่าง ยุค 1 และ ยุค 2วรรณกรรมในสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน แม้จะมีเรื่องการต่อสู้แต่ก็เป็นเรื่องเชิงประวัติศาสตร์ ไม่อาจนับเป็น “ยุทธนิยาย”ที่แท้จริงได้ จนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซือหม่าเชี่ยน ได้รวบรวม “ประวัติชาวยุทธ์สัญจร” ไว้เป็นบทหนึ่งในหนังสือ สื่อจี้ เรื่องราวของชาวยุทธเหล่านี้มีมีสีสรรของวรรณกรรมและคุณธรรม ตลอดจนจริยะธรรมของชาวยุทธ คือ “แม้คนเหล่านี้จะขัดต่อกฎหมายของชนชั้นปกครอง แต่พวกเขาก็รักสัจจะ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ให้ความสำคัญแก่สัจจะยิ่งชีวิต ช่วยขจัดทุกข์ภัยแก่ผู้ถูกรังแกหรือบ้านเมือง ไม่ใช่อวดความดีของตน”“ประวัติชาวยุทธ์สัญจร” จึงถือได้ว่าเป็นต้นธารของยุทธจักรนิยายจีน เพราะในสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีผู้เอาประวัติของ จิงคอ ผู้พลีชีพไปแทง ฉินอ๋อง มาแต่งเป็นนิยายต่อมาในราชวงศ์วุ่ย – จิ๋น ยุทธจักรนิยายเริ่มแทรกเข้ามาในเทพนิยาย ในหนังสือชุด “โซวเฉินจี้ (รวมเรื่องเทพ)” มีเรื่อง “ซันหวางมู่ – สุสานสามอ๋อง” ว่าด้วยเรื่องราวของชาวยุทธที่จบลงแบบโศกนาฎกรรมอันรัดรึงใจ เป็นยุทธนิยายที่ดีเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติวรรณคดีจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง มียุทธนิยายขนาดสั้นเกิดขึ้นมากมาย เช่น หงเสี้ยนจ้วน (เรื่องของแม่นางหงเสี้ยน) เรื่องที่ได้รับการยกย่องที่สุดคือ ชิวหญ่านเค่อจ้วน (ตำนานจอมยุทธ์เครา) กิมย้ง ชื่นชมยกย่องเรื่องนี้มาก เห็นว่าให้แนวทางแก่นิยายกำลังภายในรุ่นหลังเป็นอเนกประการสมัยราชวงศ์ซ่ง ยุทธจักรนิยายมีขนาดยาวขึ้น เป็นจุดเริ่มของนิยายกำลังภายในยุคใหม่ นิยายจีนของราชวงศ์หมิง ซึ่งเริ่มมีลักษณะนิยายจีนชัดเจนขึ้นสมัยราชวงค์หมิงมีผู้เอานิทานที่เล่าสมัยราชวงศ์ซ่งมาเรียบเรียงให้ต่อเนื่องกันไป ทั้งแต่งเติมให้ยาวขึ้นจนกลายเป็นนิยาย เรื่องแรกคือ สามก๊กเอี้ยนหงี ของล่อกวนตง (หลอกว้านจง) นอกจากนั้นยังมีอีกสามเรื่อง คือ ซ้องกั๋ง (ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน) ไซอิ๋ว และ จินผิงเหมย (สามสาวคาวกาม) ตัวเอกในเรื่อง ซ้องกั๋งแต่ละคนมีวีรกรรมและวิทยายุทธที่ผิดแปลกแตกต่าง ทั้งยังมีฉายาที่เรียกหากันในยุทธจักร ซึ่งเป็นต้นแบบแก่นิยายกำลังภายในยุคหลัง แต่ยังไม่มีการใช้กำลังภายในส่วนนิทานซึ่งมีขนาดสั้นกว่านิยาย ได้มีผู้รวมเป็นชุดไว้ ที่มีชื่อเสียงคือชุด “ซานเหยียน (สามวาทะ)” สามเล่ม และชุด “เอ้อไพ (สองทุบโต๊ะ)” นิทานในชุด ซานเหยี่ยน – เอ้อไพ นี้ มีหลายเรื่องที่ ตัวละคร การดำเนินเรื่อง และองค์ประกอบต่างๆมีลักษณะของนิยายกำลังภายในอย่างสมบูรณ์ เช่นเรื่อง “หลิวซานตงคุยโตที่ซุ่นเฉียงเหมิง” มีเรื่องของสัตว์ประหลาดที่มีอำนาจพิเศษปราบสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ เรื่องหญิงสาวผู้มีพลังลึกล้ำฆ่าเสือด้วยมือเปล่าได้ ใช้นิ้วจารึกเป็นตัวอักษรลงในก้อนศิลาได้ นักศึกษาวัยเยาว์แต่มีวิทยายุทธ์สูงล้ำ เพียงแต่ในเรื่องนี้ยังไม่มีคำว่า “กำลังภายใน” “เดินลมปราณ” จึงยังไม่อาจนับเป็นนิยายกำลังภายในที่สมบูรณ์ได้ต่อมาในยุคราชวงค์ชิง นิยายคดีความซึ่งมีการสอบสวน สืบล่าหาตัวคนร้าย มีเรื่องการต่อสู้และแสดงวีรกรรมจอมยุทธอย่างชัดเจน เช่น เรื่อง “ซือกง” “แพกง” เรื่องเด่นที่สุดคือ “สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม” ซึ่งต่อมามีผู้ปรับปรุงเป็น “เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม” โดยมีการกล่าวถึง จอมยุทธ์ใต้จั่นเจาและจอมยุทธเหนือโอวหยางชุน นอกจากนี้ยังมีนิยายที่เน้นการต่อสู้เพื่อเชิดชูคุณธรรมอีกเช่น เรื่อง “เจ็ดกระบี่สิบสามจอมยุทธ์” เรื่องที่เด่นที่สุดคือเรื่อง “ตำนานจอมยุทธหญิง” ได้รับยกย่องว่าเป็น “สองยอดนิยายวีรธรรม” คู่กับ เรื่อง “สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม” ซึ่งถือเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของ “ยุทธ์นิยาย” หรือ “นิยายวีรธรรม” ก่อนที่จะกลายเป็นนิยายกำลังภายในอย่างสมบูรณ์ช่วงปลายราชวงศ์ชิง นิยายวีรธรรมเรื่องหนึ่งมีลักษณะของนิยายกำลังภายในอย่างสมบูรณ์ เพราะในการต่อสู้นอกจากมีการใช้วิทยายุทธ์แล้วยังมีเรื่องกำลังภายใน การจี้สกัดจุด การโจมตีจุดตายในร่างกาย เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน คือเรื่อง “เฉียนหลงฮ่องเต้ประพาสเจียงหนาน” เนื้อเรื่องกล่าวถึง เฉียนหลงฮ่องเต้ปราบสำนักเส้าหลินใต้ ตัวละครเอกได้แก่ หลวงจีนจี้เสียง (จื้อส้าน) หลวงจีนซำเต็ก (ซานเต๋อ) ปึงสี่เง็ก (ฟางสื้ออี้) อั้งฮีกัว (หงสี่กวน) โอ้วฮุ่ยเคี้ยง(หูฮุ่ยเฉียง)พจนะ – สารนุกรมคันฉ่องส่องชมนิยมกำลังภายใน ของจีน กล่าวสรุปนิยายเรื่องนี้ไว้ว่า“หนังสือเรื่องนี้บรรยายพรรณาฉากการต่อสู้ได้ดีมาก มีอิทธิพลต่อนิยายกำลังยุคหลังเป็นอันมาก แม้ผู้แต่งจะยืนอยู่ข้างราชสำนักแมนจู สดุดีเฉียนหลงว่าเป็นฮ่องเต้อันประเสริฐ เชี่ยวชาญทั้งบุ๋นและบู๊ เห็นชาวยุทธจักรที่ต่อต้านราชสำนักเป็นกฎบ ผลสุดท้ายประสบภัยพิบัติวอดวาย แต่ตอนปลายราชวงค์ชิง (แมนจู) ผู้คนจำนวนมากกลับแสดงความเห็นขัดแย้ง โดยนำเรื่องราวของตัวละครเอกในเรื่องเช่น ปึงสี่เง็ก โอ้วฮุ่ยเคี้ยง มาแต่งใหม่เป็นวีรชนผู้กล้า ส่วนนักพรตคิ้วขาวปั๊งเต้าเต็ก (เฝิงเต้าเต๋อ) กอจิ้นตง (เกาจิ้นจง) เป็นสุนัขรับใช้ราชวงค์ชิง ซึ่งเป็นทัศนคติที่แตกต่างจากนิยายเรื่องนีโดยสิ้นเชิง”กล่าวได้ว่าเรื่อง “เฉินหลงฮ่องเต้ประภาสเจียงหนาน” เป็นนิยายกำลังภายในที่สมบูรณ์เรื่องแรก ส่วนเรื่องอื่นๆก่อนหน้านั้นเป็นเพียง “ยุทธ์นิยาย” แต่หนังสือวิชาการเกี่ยวกับนิยายกำลังภายในมักเรียกว่า “นิยายกำลังภายในแบบโบราญ” มีการพัฒนามายาวนานตั้งแต่ราชวงค์ฮั่นจนถึงต้นราชวงค์ชิงยุคของนิยายกำลังภายในที่แท้จริงเริ่มขึ้นในยุคสาธารณรัฐ เรียกกันว่า “นิยายกำลังภายในแบบเก่า” ต่อมาเมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม นิยายกำลังภายในได้พัฒนาไปเป็น “นิยายกำลังภายในแบบใหม่” ที่มาหนังสือ สกัดจุดยุทธจักรมังกรหยกผู้ประพันธ์ ถาวร สิกขโกศลสำนักพิมพ์ สร้างสรรค์บุ๊คส์พิมพ์ ครั้งที่ 3 มีนาคม 2543

ตงง้วน

น. นพรัตน์, ว. ณ เมืองลุง, จำลอง พิศนาคะ อาจเป็นชื่อที่คอหนังสือนิยายจีนกำลังภายใน หรือที่เรานิยมเรียกว่า "นิยายจีน" เป็นอย่างดีแน่นอน ในฐานะผู้แปลนิยายจีน หรือ ผู้แปลรุ่นแรกๆ ที่ปัจจุบันท่านได้ห่างหายไปจากยุทธจักรนี้แล้วอาทิเช่น ส.เลิศสุนทร, ส. เรืองอรัญ , ส. สมสกุล, บ.รุ่งโรจน์, ย.ปัญญาเลิศ, เทียน จันทรา, โบตั๋น, เทียนทอง, เพลิง นภดล, ธวัช สกุลรัตนะ , นาคราช, ช่ออินทนิล, ช.โชสัมฤทธิ์, จตุรงค์ พงษ์นาคินทร์ และอีกหลายๆท่านที่ไม่ได้กล่าวถึง หรือ นักแปลรุ่นใหม่ๆ อาทิเช่น คนบ้านเพ, ก วรรธนะ, แก้วชาย ธรรมาชัย เป็นต้น ดิฉินเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบอ่านหนังสือมาก โดยเฉพาะนิยายจีนกำลังภายใน ซึ่งดิฉันได้พยายามรวบรวม สะสมเก็บรักษาไว้ได้จำนวนหนึ่ง และ ยังคงสะสมเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นงานอดิเรกที่รักมาก สำหรับดิฉันนิยายจีนบางเรื่อง ดิฉันอ่านมามากกว่า 20 รอบแล้ว ก็ไม่เคยเบื่อ นานๆครั้งหยิบมาอ่านสักที ก็ได้คุณค่า ปรัชญาชีวิต มุมมองแง่คิดต่างๆ รวมทั้งสาระบันเทิงที่ได้รับ จากสำนวนการแปล การเรียบเรียงจากผู้แปลท่านต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น กว่า 20 ปี ที่สะสมด้วยใจรัก ในท่านจอมยุทธผู้สรรสร้างทั้งหลายอาทิเช่น โก้วเล้ง, กิมย้ง, อ้อเล้งเซ็ง, อึ้งเอ็ง, ซีเบ๊จี่เอ็ง และ ท่านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอด ถอดความ ออกมาเป็นสำนวนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จากผู้แปลท่านต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว อีกทั้งดิฉินเองเองก็สนใจศึกษาด้านคอมพิวเตอร์มาบ้าง จึงคิดอยากจะเผยแพร่ อนุรักษ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ เป็นศูนย์รวมให้กับบรรดาท่านจอมยุทธผู้กล้าทั้งหลาย ทั้งผู้เฒ่า วัยฉกรรจ์ หรือ บุรุษหนุ่ม อิสตรีสาว ที่ต้องการก้าวเข้ามาในบู๊ลิ้มแห่งนี้ ผมในฐานะ ก้วงแก (ผู้ดูแล) ทำหน้าที่กำกับดูแล และ เป็นสื่อกลาง จึงใคร่ขอเชิญท่านจอมยุทธผู้กล้า, บัณฑิตยอดกวี, ซือเอี้ย (ที่ปรึกษา) และ ท่านที่สนใจจะเป็นเสียวเฮียบ (ผู้กล้าหาญน้อย) หรือ นึ่งเฮียบ (ผู้กล้าหาญสตรี) คนใหม่

เกริ่นนำ

ตัวผู้สร้างบล็อคนี้ขี้นมานั้น มีความชอบส่วนตัวในเรื่องของนิยายมากและก้อมีคนอีกมากที่มีความสนใจในเรื่องนี้เช่นกัน อย่างแรกนั้นอยากให้ทุกคนได้อ่าน เพราะเวลาทางดิฉินเองนั้นหาอ่านเองยากหรือไม่ก้อต้องซื้อมาอ่าน ซึ่งมันก้อไม่จำเป็นเช่นกัน แต่การอ่านนิยายกำลังภายในที่นำมาเสนอในเวปนี้ทำให้ดิฉัน
ตอนที่เริ่มอ่านแรกๆ ติดใจในตัวละครของนิยายกำลังภายในนี้อย่างไม่รู้ตัว และจึงอยากจะนำเสนอต่อทุกคนเช่นกัน