MV มังกรหยกภาคใหม่ที่จะลงจอปีหน้าค่ะ

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เนี่ยอู้เซ็ง

เนี่ยอู้เซ็งหนึ่งในสามเสาหลักนักเขียนนิยายวรยุทธ กิมย้ง-เนี่ยอู้เซ็ง-โก้วเล้งผลงานที่ขายดีที่สุด กลับเป็นเรื่อง แป๊ะฮวกม้อ นึ่งตึ่ง (Baifa Monyu Jhuan - น.นพรัตน์ แปลใช้ชื่อ นางพญาผมขาว) กับเรื่อง ฉิกเกี่ยมเหียเทียนซัว(Cijian Sia Tianshan - เจ็ดกระบี่ขุนเขาเทียนซาน) เนี่ยอู้เซ็งหนึ่งในสามเสาหลักนักเขียนนิยายวรยุทธ กิมย้ง-เนี่ยอู้เซ็ง-โก้วเล้งที่มา: http://www.niyayjeen.com ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย:• เจ็ดนักกระบี่นางพญาผมขาว / นางพญาผมขาวสามกระบี่สาวกระบี่กู้บัลลังก์ / รอยแหนเงายุทธจักรเนี่ยอู้เซ็ง (ภาษาจีนกลาง ออกเสียง เหลียงอวี่เซิง - Liang Yusheng ) มีชื่อจริงว่า ตั้งบุ้นทง (ภาษาจีนกลางออกเสียงเป็น เฉินเหวินทง - Chen Wuntong ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) เป็นชาวมณฑลกึงไซ (กวางสี - Guangxi Province ) คุณตาและคุณพ่อล้วนเป็นบันฑิตที่มีชื่อเสียง ส่วนทางบ้านพอมีสมบัติพัสถานนับเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ นิวาสถานที่ชนบทอยู่ใกล้กับภูเขาเอี้ยวซัวมักมีนักปราชญ์ปัญญาชนมาพักอาศัยเนี่ยอู้เซ็งจังได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้ทรงความรู้กล่าวกันว่าเมื่ออายุเก้าขวบถึงกับสามารถต่อประโยคแต่งกลอนคู่ขานรับกับคำกลอนประโยค แรกของผู้คงแก่เรียนทีเดียว เนี่ยอู้เซ็งสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยเนี่ยน้ำ (Lingnan University) คณะเศรษฐศาสตร์ แต่โดยส่วนตัวชมชอบศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ แม้แต่เขาเองก็คาดคิดไม่ถึงว่าภายหน้าจะได้เป็นนักเขียนนิยายจีนกำลังภายใน มิหนำซ้ำ ยังเป็นผู้สร้างเส้นทางสายใหม่ให้แก่นิยายจีนกำลังภายในยุคใหม่อีกด้วย เมื่อปี ค.ศ. 1949 หลังสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นสงบลง เนี่ยอู้เซ็ง ก็เดินทางมายังฮ่องกง และทำงานในบริษัทหนังสือพิมพ์รายวัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 ปรากฏครูมวยสองท่าน ประกาศตนว่ามีวิทยายุทธสูงส่ง จึงนัดวันเวลาประลองฝีมือพิสูจน์สความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกัน แต่ขณะนั้นทางฮ่องกงห้ามไม่ให้มีการต่อสู้ชิงชัย ได้แต่ตั้งเวทีลุยไถที่เมืองมาเก๊า ผลปรากฏว่า เจ้าสำนักหมัดไท้เก๊กต่อยหมัดถูกจมูกเจ้าสำนักกระเรียนขาวจนเลือดกำเดาไหล ออกมา การต่อสู้เป็นอันยุติแต่การประลองครั้งนี้ เป็นที่โจษขานกันไม่รู้จบ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อ (ซินหวั่นเป้า - Sin Wan Bao) ฉบับบ่าย เกิดไวพริมชั่ววูบตกลงจะตีพิมพ์นิยายกำลังภายใน เพื่อตอบสนองความต้องการผู้อ่านที่ชมชอบการต่อสู้ และมอบหมายให้เนี่ยอู้เซ็งซึ่งเป็นผู้ควบคุมคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์เป็นผู้เขียนนิยายกำลังภายใน ถึ้งแม้ว่าเนี่ยอู้เซ็งจะปฏิเสธว่าไม่สามารถเขียนได้ แต่บรรณาธิกาชิงลงข้อความในหน้าหนังสือพิมพ์ว่า จะตีพิมพ์นิยายกำลังภายในฉบันวันพรุ่งนี้ เนี่ยอู้เซ็งได้แต่จับปากกา เขียนเรื่อง เล้งโฮ้ว โต๋วเกียฮั้ว (Longhu Dou Jinghua - มังกรถล่มพยัคฆ์กลางกรุง)โดยใช้นามปากกาว่า เนี่ยอู้เซ็ง ซึ่ง แปลว่า เนี่ยผู้เป็นศิษย์ของอู้ เนี่ยอู้เซ็งอธิบายว่า เขานิยมชมชอบงานเขียนของ แป๊ะอู้ ซึ่งเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในยุคปี ค.ศ. 1930 - 1940 ผู้แต่ง จับยี่กิมจี้เปีย (สิบสองลูกดอกเหรียญทอง ) จึงปวารณาตัวเป็นศิษย์ของท่าน ส่วนคำว่าเนี่ย เป็นเพราะก่อนหน้านั้นเคยใช้นามปากกาว่า เนี่ยหุยยู้ เขียนคอลัมน์ในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ก่อน อุบัติการณ์โดยไม่ได้ตั้งใจครั้งนี้ ได้จุพลุความนิยมของนักอ่านขึ้น ทุกคนเฝ้าติดตามผลงานของเนี่ยอู้เซ็งจากหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน จนเนี่ยอู้เซ็งได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างสรรค์นิบายกำลังภายในยุคึใหม่ และอีกสามปี ให้หลังนามปากกา กิมย้ง ก็กำเนิดขึ้น จากเรื่อง จือเกี่ยมอึงชิ้วลก ( แปลว่า ตำนานอักษรกระบี่ - น.นพรัตน์ แปล ใช้ชื่อว่า จอมใจจอมยุทธ์ ) ซึ่งนำลงในหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อ เช่นกัน ยุคสมัยนั้น นิยายกำลังภายในไม่ได้รับการยกย่องเท่าที่ควร เฉกเช่นคนเล่นปาหี่ เปิดการแสดงเร่ร่อน ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมเท่าใดนัก จวบจนกระทั่ง เนี่ยอู้เซ็ง และ กิมย้ง เขียนนิยายกำลังภายใน สภาพการณ์ค่อยเปลี่ยนไป หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ทั้งฮ่องกง ไต้หวัด สิงคโปร์ มาเลเซีย ล้วนแย่งซื้อนิยายกำลังภายในไปลงประจำ ตอนแรกหนังสือพิมพ์เซ้าส์อีสเอชีย คัดลอกเรื่องจากหนังสือพิมพ์ฮ่องกงนำลงต่อ แต่เนื่องด้วยต่างพากันลงพิมพ์หลายฉบับ จึงไม่เป็นที่ดึงดูดใจนักอ่าน หนังสือพิมพ์ที่มีฐานะดี จึงติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์จากนักเขียนฮ่องกง นำลงพร้อมกับหนังสือพิมพ์ฮ่องกงโดยให้ค่าลิขสิทธิ์ สูงกว่า หนังสือพิมพ์ฮ่องกงเสียอีก นิยายกำลังภายในของ เนี่ยอู้เซ็ง ชมชอบใช้ชื่อบทแบบโบราณ มิหนำซ้ำมีกลิ่นอายโคลงกลอนอย่าเข้มข้น โดยเฉพาะแทบทุกเรื่อง ต้องมีลำนำเพลง เปิดเรื่องด้วยถ้อยคำไพเราะ ทั้งยังใช้สำนวนเป็นภาษาแบบแผน จึงเป็นผลงานที่กอบด้วยวิญญาณจีนอย่างเปี่ยมล้น นอกจากนั้นยังผูกเรื่องราวเข้ากับประวัติศาสตร์จีนอย่างสอดคล้อง ดังนั้นจึงปรากฏเหตุการณ์จริง และบุคคลจริงในประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง จนได้รับการกล่าวขานว่า เป็นผู้สร้างนิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์จีนได้ดีที่สุด เนี่ยอู้เซ็ง มีผลงานทั้งสิ้น 38 เรื่อง ในส่วนตัวของเจารักชอบ เรื่อง เพี้ยจงเฮียบอี้ย (น.นพรัตน์แปล ใช้ชื่อว่า กระบี่กู้บัลลังก์ ) เรื่อง ฮุ้นนไฮ้เง็กเก็งอ้วง (บุพเพสันิวาสเกาทัณฑ์หยก) และเรื่อง นึ่งตี่คี้เอ็งฮ้ง (จักรพรรดิ์หญิงยอดวีรบุรุษ) ซึ่งเขียนถึงเรื่องราวของ พระนางบูเช็กเทียน (หวูเจ๋อเทียน) ฮ่องเต้หญิงองค์ดียวของจีน แต่ผลงานที่ขายดีที่สุด กลับเป็นเรื่อง แป๊ะฮวกม้อ นึ่งตึ่ง (Baifa Monyu Jhuan - น.นพรัตน์ แปลใช้ชื่อ นางพญาผมขาว) กับเรื่อง ฉิกเกี่ยมเหียเทียนซัว(Cijian Sia Tianshan - เจ็ดกระบี่ขุนเขาเทียนซาน) ซึ่งถูกขโมยพิมพ์มากที่สุด ที่ผ่านมามีคนเปรียบเทียบผลงานระหว่างกิมย้งกับเนี่ยอู้เซ็งว่ากิมย้งสามารถผสมผสานลักษณะ การเขียนของยิยายตะวันตกเข้ากับนิยายกำลังภายใน ส่วนเนี่ยอู้เซ็งคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นจีนมากที่สุด กิมย้งถนัดในการสร้างตัวละครฝ่ายอธรรม ส่วนเนี่ยอู้เซ็งเจนจัดในการสร้างวีรบุรุษเชี่ยวชาญอักษร และวีรสตีที่เปิดเผยองอาจ ผู้กล้าหาญที่ปล่อยตัวไม่นำพา ดังจะเห็นได้จาก เตียตัวปัง ในกระบี่กู้บัลลังก์ อสุรีหยก จาก นางพญาผมขาว และ กิมสี่ยุ้ย จาก ฮุ้นไฮ้เง็กเก็งอ้วง (บุพเพสันนิวาสเกาฑัณฑ์หยก) น่าเสียดายที่ยุคหลัง เนี่ยอู้เซ็งรับงานเขียนมากเกินไป มักเขียนนิบายพร้อมกัน 2 - 3 เรื่อง เป็นเหตุให้คุณภาพงานด้อยไป จนมีผู้วิจารณ์ว่า ผลงานในยุคแรกของเนี่ยอู้เซ็ง สมบูรณ์แบบมากกว่าผลงานยุคหลัง ปัจจุบัน เนี่ยอู้เซ็งวางมือจากการเขียนนิยายกำลังภายในแล้ว แต่ยังทำงานปรับปรุงแก้ไขผลงานทีผ่านมา ทยอดยจัดพิมพ์จำหน่าย โยขายต้นฉบับให้ก่สำนักพิมพ์เทียนตี่ของฮ่องกง และสำนักพิมพ์ฮวงฮุ้นซี่ต่อ ของไต้หวัน พร้อมกับตั้งปณิธานว่าจะเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ผากให้กับแผ่นดิน โดยจะเขียนเรื่องราวของ ไท้เพ้งเทียนก๊ก (ไท้ผิงเทียนกว๋อ - อาณาจักรเมืองแมนแดนสวรรค์ หรือ กบฏไท้ผิง ) เป็นเรื่องแรก เนี่ยอู้เซ็งนอกจากจะเป็นนักเขียนกำลังภายในแล้ว ยังเป็นมือหมากล้อม (โกะ) ฝีมือเยี่ยม โดยหัดเล่นหมากล้อมตั้งแต่อายุเก้าขวบ อาจารย์คนแรกของเขาคือคุณตาของเขานั่นเอง และในปี ค.ศ. 1977 สมาคมโกะของญี่ปุ่น และชมรมหมากล้อมของฮ่องงกง จัดการประลองหมายล้อมขึ้นที่ฮ่องกง เนี่ยอู้เซ็งเข้าแข่งขันในนามตัวแทนของฮ่องกงปรากฏว่า โค่นมือโกะจากญี่ปุ่น ชื่อ มาจึโมโต ฟุคุโอะ ลงได้ นอกจากนั้นเนี่ยอู้เซ็งยังใช้นามปากกา ตั้งลู่ เขียนบทวิจารณ์เกี่ยวกับหมากล้อม นำลงในหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อ ทั้งยังมีการจัดพิมพ์รวมเล่มอีกด้วย ความหลงงมงายในหมากล้อมของเนี่ยอู้เซ็ง ได้รับการบันทึกว่า เมื่อปี ค.ศ. 1950 เนี่ยอู้เซ็งเพิ่งแต่งงาน เดินทางไปฮันนีมูนที่กรุงปักกิ่ง แต่เพราะคันไม้คันมือ จึงและไปเล่นหมากล้อมที่ชมรมหมากล้อมในกรุงปักกิ่ง พบพานคู่มือที่ทัดเทียมกัน พันตูตั้งแต่ยามค่ำ ถึงเที่ยงคืน ตอนนั้นร้านอาหารในกรุงปักกิ่ง ปิดร้านตั้งแต่สามทุ่ม คำคืนนั้นนี่ยอู้เซ็งได้แต่ทนหนาวไปทั้งคืน ทำให้เจ้าสาวต้องยืนพิงหน้าต่าง ราอคอยสามีคืนกลับ รสชาตินั้นเป็นอย่างไร ต้องถามไถ่ภรรยาคู่ชีวิตของเนี่ยอู้เซ็งผู้สุภาพแล้ว หากจะใช้คำจำกัดความเปรียบเปรยผลงานของเนี่ยอู้เซ็ง สมควรยกอ้างข้อความของนักโคลงกลอน เล้าแป๊ะตวน ที่มอบให้แก่เนี่ยอู้เซ็ง
ชาติบ้านเมืองเสื่อมโทรม แผ่นดินใหญ่สั่นคลอน บุตรธิดาหาญกล้า ไม่เป็นสองรองใคร ขลุ่ยหยกเป่าถึง ตอนวิญญาณสลาย ชลเนตรแห้ง นัยนากลายเป็นสายเลือด

ไม่มีความคิดเห็น: