MV มังกรหยกภาคใหม่ที่จะลงจอปีหน้าค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วิวัฒนาการของนิยายกำลังภายใน

วิวัฒนาการของนิยายกำลังภายในหยุ่นฉวน เขียนไว้ในหนังสือ “เจียงหูเหวินฮั่ว” (วัฒนธรรมยุทธจักร) ว่า วีรธรรมยุทธนิยายของจีน แบ่งได้ 4 ยุค คือ1.ยุคราชวงศ์ฉินและฮั่น จนถึง ราชวงศ์สุยและถัง2.ยุคราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง สองยุคนี้อาจเรียกรวมกันได้ว่า นิยายกำลังภายในแบบโบราณ3.ยุคนิยายกำลังภายในแบบเก่า4.ยุคนิยายกำลังภายในแบบใหม่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงราชวงศ์ซ่งและหยวน แต่ดูจากลักษณะวรรกรรมแล้วควรจัดอยู่ใน 2 ยุคแรก เป็นช่วงรอยต่อระหว่าง ยุค 1 และ ยุค 2วรรณกรรมในสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน แม้จะมีเรื่องการต่อสู้แต่ก็เป็นเรื่องเชิงประวัติศาสตร์ ไม่อาจนับเป็น “ยุทธนิยาย”ที่แท้จริงได้ จนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซือหม่าเชี่ยน ได้รวบรวม “ประวัติชาวยุทธ์สัญจร” ไว้เป็นบทหนึ่งในหนังสือ สื่อจี้ เรื่องราวของชาวยุทธเหล่านี้มีมีสีสรรของวรรณกรรมและคุณธรรม ตลอดจนจริยะธรรมของชาวยุทธ คือ “แม้คนเหล่านี้จะขัดต่อกฎหมายของชนชั้นปกครอง แต่พวกเขาก็รักสัจจะ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ให้ความสำคัญแก่สัจจะยิ่งชีวิต ช่วยขจัดทุกข์ภัยแก่ผู้ถูกรังแกหรือบ้านเมือง ไม่ใช่อวดความดีของตน”“ประวัติชาวยุทธ์สัญจร” จึงถือได้ว่าเป็นต้นธารของยุทธจักรนิยายจีน เพราะในสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีผู้เอาประวัติของ จิงคอ ผู้พลีชีพไปแทง ฉินอ๋อง มาแต่งเป็นนิยายต่อมาในราชวงศ์วุ่ย – จิ๋น ยุทธจักรนิยายเริ่มแทรกเข้ามาในเทพนิยาย ในหนังสือชุด “โซวเฉินจี้ (รวมเรื่องเทพ)” มีเรื่อง “ซันหวางมู่ – สุสานสามอ๋อง” ว่าด้วยเรื่องราวของชาวยุทธที่จบลงแบบโศกนาฎกรรมอันรัดรึงใจ เป็นยุทธนิยายที่ดีเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติวรรณคดีจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง มียุทธนิยายขนาดสั้นเกิดขึ้นมากมาย เช่น หงเสี้ยนจ้วน (เรื่องของแม่นางหงเสี้ยน) เรื่องที่ได้รับการยกย่องที่สุดคือ ชิวหญ่านเค่อจ้วน (ตำนานจอมยุทธ์เครา) กิมย้ง ชื่นชมยกย่องเรื่องนี้มาก เห็นว่าให้แนวทางแก่นิยายกำลังภายในรุ่นหลังเป็นอเนกประการสมัยราชวงศ์ซ่ง ยุทธจักรนิยายมีขนาดยาวขึ้น เป็นจุดเริ่มของนิยายกำลังภายในยุคใหม่ นิยายจีนของราชวงศ์หมิง ซึ่งเริ่มมีลักษณะนิยายจีนชัดเจนขึ้นสมัยราชวงค์หมิงมีผู้เอานิทานที่เล่าสมัยราชวงศ์ซ่งมาเรียบเรียงให้ต่อเนื่องกันไป ทั้งแต่งเติมให้ยาวขึ้นจนกลายเป็นนิยาย เรื่องแรกคือ สามก๊กเอี้ยนหงี ของล่อกวนตง (หลอกว้านจง) นอกจากนั้นยังมีอีกสามเรื่อง คือ ซ้องกั๋ง (ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน) ไซอิ๋ว และ จินผิงเหมย (สามสาวคาวกาม) ตัวเอกในเรื่อง ซ้องกั๋งแต่ละคนมีวีรกรรมและวิทยายุทธที่ผิดแปลกแตกต่าง ทั้งยังมีฉายาที่เรียกหากันในยุทธจักร ซึ่งเป็นต้นแบบแก่นิยายกำลังภายในยุคหลัง แต่ยังไม่มีการใช้กำลังภายในส่วนนิทานซึ่งมีขนาดสั้นกว่านิยาย ได้มีผู้รวมเป็นชุดไว้ ที่มีชื่อเสียงคือชุด “ซานเหยียน (สามวาทะ)” สามเล่ม และชุด “เอ้อไพ (สองทุบโต๊ะ)” นิทานในชุด ซานเหยี่ยน – เอ้อไพ นี้ มีหลายเรื่องที่ ตัวละคร การดำเนินเรื่อง และองค์ประกอบต่างๆมีลักษณะของนิยายกำลังภายในอย่างสมบูรณ์ เช่นเรื่อง “หลิวซานตงคุยโตที่ซุ่นเฉียงเหมิง” มีเรื่องของสัตว์ประหลาดที่มีอำนาจพิเศษปราบสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ เรื่องหญิงสาวผู้มีพลังลึกล้ำฆ่าเสือด้วยมือเปล่าได้ ใช้นิ้วจารึกเป็นตัวอักษรลงในก้อนศิลาได้ นักศึกษาวัยเยาว์แต่มีวิทยายุทธ์สูงล้ำ เพียงแต่ในเรื่องนี้ยังไม่มีคำว่า “กำลังภายใน” “เดินลมปราณ” จึงยังไม่อาจนับเป็นนิยายกำลังภายในที่สมบูรณ์ได้ต่อมาในยุคราชวงค์ชิง นิยายคดีความซึ่งมีการสอบสวน สืบล่าหาตัวคนร้าย มีเรื่องการต่อสู้และแสดงวีรกรรมจอมยุทธอย่างชัดเจน เช่น เรื่อง “ซือกง” “แพกง” เรื่องเด่นที่สุดคือ “สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม” ซึ่งต่อมามีผู้ปรับปรุงเป็น “เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม” โดยมีการกล่าวถึง จอมยุทธ์ใต้จั่นเจาและจอมยุทธเหนือโอวหยางชุน นอกจากนี้ยังมีนิยายที่เน้นการต่อสู้เพื่อเชิดชูคุณธรรมอีกเช่น เรื่อง “เจ็ดกระบี่สิบสามจอมยุทธ์” เรื่องที่เด่นที่สุดคือเรื่อง “ตำนานจอมยุทธหญิง” ได้รับยกย่องว่าเป็น “สองยอดนิยายวีรธรรม” คู่กับ เรื่อง “สามผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม” ซึ่งถือเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของ “ยุทธ์นิยาย” หรือ “นิยายวีรธรรม” ก่อนที่จะกลายเป็นนิยายกำลังภายในอย่างสมบูรณ์ช่วงปลายราชวงศ์ชิง นิยายวีรธรรมเรื่องหนึ่งมีลักษณะของนิยายกำลังภายในอย่างสมบูรณ์ เพราะในการต่อสู้นอกจากมีการใช้วิทยายุทธ์แล้วยังมีเรื่องกำลังภายใน การจี้สกัดจุด การโจมตีจุดตายในร่างกาย เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน คือเรื่อง “เฉียนหลงฮ่องเต้ประพาสเจียงหนาน” เนื้อเรื่องกล่าวถึง เฉียนหลงฮ่องเต้ปราบสำนักเส้าหลินใต้ ตัวละครเอกได้แก่ หลวงจีนจี้เสียง (จื้อส้าน) หลวงจีนซำเต็ก (ซานเต๋อ) ปึงสี่เง็ก (ฟางสื้ออี้) อั้งฮีกัว (หงสี่กวน) โอ้วฮุ่ยเคี้ยง(หูฮุ่ยเฉียง)พจนะ – สารนุกรมคันฉ่องส่องชมนิยมกำลังภายใน ของจีน กล่าวสรุปนิยายเรื่องนี้ไว้ว่า“หนังสือเรื่องนี้บรรยายพรรณาฉากการต่อสู้ได้ดีมาก มีอิทธิพลต่อนิยายกำลังยุคหลังเป็นอันมาก แม้ผู้แต่งจะยืนอยู่ข้างราชสำนักแมนจู สดุดีเฉียนหลงว่าเป็นฮ่องเต้อันประเสริฐ เชี่ยวชาญทั้งบุ๋นและบู๊ เห็นชาวยุทธจักรที่ต่อต้านราชสำนักเป็นกฎบ ผลสุดท้ายประสบภัยพิบัติวอดวาย แต่ตอนปลายราชวงค์ชิง (แมนจู) ผู้คนจำนวนมากกลับแสดงความเห็นขัดแย้ง โดยนำเรื่องราวของตัวละครเอกในเรื่องเช่น ปึงสี่เง็ก โอ้วฮุ่ยเคี้ยง มาแต่งใหม่เป็นวีรชนผู้กล้า ส่วนนักพรตคิ้วขาวปั๊งเต้าเต็ก (เฝิงเต้าเต๋อ) กอจิ้นตง (เกาจิ้นจง) เป็นสุนัขรับใช้ราชวงค์ชิง ซึ่งเป็นทัศนคติที่แตกต่างจากนิยายเรื่องนีโดยสิ้นเชิง”กล่าวได้ว่าเรื่อง “เฉินหลงฮ่องเต้ประภาสเจียงหนาน” เป็นนิยายกำลังภายในที่สมบูรณ์เรื่องแรก ส่วนเรื่องอื่นๆก่อนหน้านั้นเป็นเพียง “ยุทธ์นิยาย” แต่หนังสือวิชาการเกี่ยวกับนิยายกำลังภายในมักเรียกว่า “นิยายกำลังภายในแบบโบราญ” มีการพัฒนามายาวนานตั้งแต่ราชวงค์ฮั่นจนถึงต้นราชวงค์ชิงยุคของนิยายกำลังภายในที่แท้จริงเริ่มขึ้นในยุคสาธารณรัฐ เรียกกันว่า “นิยายกำลังภายในแบบเก่า” ต่อมาเมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยม นิยายกำลังภายในได้พัฒนาไปเป็น “นิยายกำลังภายในแบบใหม่” ที่มาหนังสือ สกัดจุดยุทธจักรมังกรหยกผู้ประพันธ์ ถาวร สิกขโกศลสำนักพิมพ์ สร้างสรรค์บุ๊คส์พิมพ์ ครั้งที่ 3 มีนาคม 2543

ไม่มีความคิดเห็น: