MV มังกรหยกภาคใหม่ที่จะลงจอปีหน้าค่ะ

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โก้วเล้ง

โก้วเล้งนักเขียนนิยายจีน แม้ว่าโก้วเล้งจะออกตัวว่า แรงดลใจที่ทำให้เขาเขียนนิยายยุทธจักร ไม่ใช่หลักการเลิศหรูประการใด "เพียงแต่ต้องการหาเงินกินข้าวเท่านั้น" แต่โก้วเล้งก็เห็นว่า "นิยายกำลังภายในก็เป็นรูปแบบหนึ่งของนวนิยาย ที่มันสามารถดำรงอยู่ในปัจจุบัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีคุณค่าในการคงอยู่ของมัน"โก้วเล้ง นักเขียนนิยายวรยุทธวิญญาณเสรีที่มา: โก้วเล้ง (Gu Long) มีชื่อจริงว่า สงย่าวฮวา หรือ ฮิ้มเอี้ยวฮัว (Syong Yaohua) เกิดในฮ่องกง เมื่อปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1937) บิดาเป็นชาวมณฑลกังไส (มณฑลเจียงซี - Jiangxi Province ) ซึ่งอพยพไปอยู่ฮ่องกง โก้วเล้งจบการศึกษาภาคประถมที่ฮ่องกง แต่เมื่อปี พ.ศ. 2495 ขณะอายุได้ 14 ปี ก็เดินทางไปศึกษาต่อยังไต้หวันเพียงลำพัง โดยพักที่ Juifang Town ในกรุงไทเป ตอนแรกที่พำนักอยู่ไต้หวันนั้น ยังมีการติดต่อกับครอบครัวทางฮ่องกง ค่าใช้จ่ายในไต้หวันเป็นครอบครัวทางฮ่องกงจัดส่งให้ แต่อีกสี่ปีให้หลังก็ขาดการติดต่อ นับแต่นั้นโก้วเล้งมีชีวิตอย่างลำบากยากแค้น ไร้บ้านช่องคืนกลับ สาเหตุที่ขาดการติดต่อ โก้วเล้งหาได้เปิดเผยไม่ โก้วเล้งผ่านชีวิตมาอย่างโชกโชนตั้งแต่วัยรุ่น เคยผ่านช่วงชีวิตตกต่ำจนถึงขีดสุด เคยผ่านห้วงวิกฤตระหว่างความเป็นความตาย ผ่านความรัก ความแค้น ความเหงา มาสารพัด วันหนึ่งโก้วเล้งเต็ดเตร่อยู่ในตรอกเล็ก ๆ ของถนนฮั้วเพ้งตั้งโล้ว กลางกรุงไทเป ในตัวมีเงินเพียงยี่สิบกว่าเหรียญไต้หวัน มาตรว่าสามารถกินอาหารตามแผงได้ แต่ปัญหาด้านที่พักอาศัยจะทำอย่างไร ? บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซิงมึ่งป่อฉบับบ่าย ในยามอับจนสิ้นหนทาง โก้วเล้งพบพานเพื่อนผู้มีนำใจ ท่านหนึ่ง หาที่ซุกหัวนอนที่ถนนโพ่วเซี้ยให้ พร้อมกับจุนเจืออาหาร ภายหลังเมื่อโก้วเล้งเอ่ยถงเพื่อนผู้มีพระคุณท่านี้ ยังเคารพนับถือไม่เสื่อมคลาย หลังจากนั้นไม่นาน โก้วเล้ง หางานทำชั่วคราวได้ที่วิทยาลัยฝึกหัดครู พอมีรายได้เลี้ยงชีพ ทางหนึ่ง ทำหน้าที่เขียนกระดาศษไข พิมพ์โรเนียวและตรวจปรูฟสิ่งพิมพ์ ทางหนึ่ง สมัครเข้าเป็นนักศึกษาใน มหาวิทยาต้ากัง คณะอักษรศาสตร์ แผนกภาษาต่างประเทศ (ขณะที่โก้วเล้งเรียนอยู่นั้นมหาวิทยาลัยต้ากัง ใช้ชื่อมหาวิทยาลัยว่าว่า Tamkang English Junior College ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Tamkang University) จนสำเร็จการศึกษา ได้ปริญญาบัตรมาใบหนึ่ง ภาษาอังกฤษของโก้วเล้งดีเยี่ยม ทว่าคนภายนอกรู้ไม่มากนัก ภายหลังจบการศึกษา โก้วเล้งสอบเข้าทำงานในคณะที่ปรึกษาทหารอเมริกันประจำกรุงไทเป ตำแหน่งบรรณารักษ์ประจำห้องสมุด (ช่วงเวลานั้นมีทหารอเมริกันอยู่ที่เกาะไต้หวัน และ เกาะคีมอยหลายหมื่นคน) ประมาณปี พ.ศ. 2503 นิยายกำลังภายในที่ไต้หวัน เฟื่องฟูอย่างยิ่ง ระหว่างนั้น ไต้หวันมีสองนักเขียนชื่อดัง อ้อเล้งเซ็ง กับ จูกั๊วแชฮุ้น ครองความยิ่งใหญ่อยู่ ทางการไต้หวันก็สนับสนุน (เพราะงมงายในหนงสือดีกว่าฟุ้งซ่านทางการเมือง) โก้วเล้งใช้เวลาว่างระหว่างทำงาน ทดลองเขียนส่งไปให้กับ สำนักพิมพ์ลื่อสี โก้วเล้งเริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเมื่ออายุ 23 ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เรื่องแรกคือ "เทพกระบี่โพยม" หรือ ซังเกี่ยมซิ้งเกี่ยม (Cangqiong Shen Jian) แต่คงวนเวียนอยู่ในแนวทางเก่าๆ โดยใช้นามปากกาว่า พ่อเกี่ยมเล้าจู๊ มีความยาว 12 เล่ม ได้รับค่าต้นฉบับเล่มละ 800 เหรียญไต้หวัน (ประมาณ 400 บาทเศษ) โดยเขียนเล่มละสี่หมื่นสองพันตัว คิดเฉลี่ยแล้ว อักษรหนึ่งพันตัวมีราคาประมาณ 19 เหรียญไต้หวัน (ไม่ถึงสิบบาท) เท่านั้น แรกผลักดันให้โก้วเล้งเขียนนิยายกำลังภายใน ไม่มีเหตุผลหรูหราเลิศลอยอันใด โก้วเล้งกล่าวว่า เพียงเพื่อหาเงินเท่านั้น
เรื่องที่ประสบความสำเร็จจนพอมีชื่อเสียงขึ้นมาบ้างก็คือ ศึกษาเลือด เป็นแนวรักขัดแย้ง ในสายเลือดและความคิด มีอารมณ์เป็นแกน แทนการฆ่าล้างแค้น ต่อจากนั้นคือ พิฆาตทรชน (เกี่ยมตั๊กบ๊วยเฮียม) เริ่องนี้เกือบทั้งหมดแต่งโดย Shangguan Din, ฉั่งกิมข่วยเง็ก อิ้วเฮียบลก, ซิกฮุ้นอิ้ง โกวแชตึ่ง, เซียวกี่เกี่ยม ภายหลังโก้วเล้งบอกว่า เรื่องเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่ใช้ไม่ได้ แทบปราศจากแนวความคิด และแบบฉบับของตัวเอง ถัดจากนั้นคือ เพียวเฮียงเกี่ยมโหงว, ฮู่ฮวยเล้ง, ศึกศรสวาท (เช้งยิ้นจี่), นักสู้ผู้พิชิต (อ้วงฮวยโซยเกี่ยมลก) จวบจนกระทั่ง บู๊ลิ้มงั่วซือ (ราชายุทธจักร, 2509) แนวการเขียนของโก้วเล้งค่อยเปลี่ยนแปลง สลัดหลุดจากแนวทางของผู้อื่น อาศัยความคิดและแบบฉบับของตัวเองโก้วเล้งเคยกล่าวว่า "จนถึงเรื่อง ราชายุทธจักร (อู่หลินไว่เส่อ) วิธีการเขียนของข้าพเจ้าจึงค่อยๆเปลี่ยนไป ค่อยๆ ห่างออกจากแบบอย่างของผู้อื่นทีละน้อย" ตอนนั้น นิยายกำลังภายในที่จัดพิมพ์จำหน่าย มีจำนวนหลายร้อยหลายพันเล่ม แบบฉบับของนิยายกำลังภายในที่ขายดีทั่วไป มักเป็นเรื่อง ลึกลับซับซ้อน พลิกความคาดหมาย ตัวเอกได้คัมภีร์วิทยายุทธ์ ยาวิเศษหรือผลไม้พันปีเพิ่มพูนกำลังฝีมือ โครงเรื่องบางประการแทบยึดมั่นเป็นแบบฉบับ นักอ่านที่เจนจัด ขอเพียงอ่านตอนแรกเริ่ม ก็คาดเดาตอนอวสานได้ ตำแหน่งบรรณารักษ์ในห้องสมุด เป็นเหตุให้โก้วเล้งมีโอกาสศึกษาวรรณกรรมตะวันตกจำนวนมาก ดังนั้น ยอมรับวรรณกรรมต่างประเทศ สลัดหลุดจากกฏเกณฑ์ของนิยายกำลังภายในทั่วไป ยุทธจักรนิยายของโก้วเล้งจึงมีโฉมหน้า และแบบฉบับที่เป็นเอกเทศเฉพาะหลังจากนั้นก็เริ่มเขียนนิยายในแนวทางของตนเอง ผลงานของโก้วเล้งที่เป็นที่รู้จักได้แก่ เซี่ยวฮื่อยี้ (เจวี่ยไต้ซวงเซียว, 2510), จอมกระบี่มากน้ำใจ, เล็กเซียวหง, อาวุธของโก้วเล้ง, จอมดาบหิมะแดง, จอมโจรจอมใจ (ชอลิ่วเฮียง, 2510), ฤทธ์มีดสั้น (ตอเช้งเกี่ยมแขะบ้อเช้งเกี่ยม, 2511)นอกนั้นยังมี จับอิดนึ้ง (2512) และ ยอดขุนโจร (ฮวยเป๋งจับอิดนึ้ง, 2517) เขียนถึงตัวเอกที่ถูกตราหน้าเป็นโจร แต่มีคุณธรรมล้ำฟ้า, ดาวตก ผีเสื้อ กระบี่ (ลิ้วแช ฮู้เตี๊ยบ เกี่ยม, 2512) เขียนถึงชีวิตของมือสังหาร ความรัก ก็อดฟาเธอร์ของจีน), วีรบุรุษสำราญ (ฮัวลักเอ็งฮ้ง, 2514) เขียนถึงตัวเอกหลายคน มีสีสันแตกต่างกัน และร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ซาเสียวเอี้ย (2518) เขียนถึงชีวิตของวีรบุรุษนักเลง สอดแทรกปรัชญาไว้อย่างลึกซึ้ง ). อินทรีผงาดฟ้า (2519) เริ่องนี้เกือบทั้งหมดเขียนโดย Sima Ziyan เป็นเรื่องชีวิตการต่อสู้ของลูกผู้ชายซึ่งยึดมั่นในความรัก จากนั้นคำว่า "นิยายแบบโก้วเล้ง" "สำนวนแบบโก้วเล้ง" "บทสนทนาแบบโก้วเล้ง" ซึ่งมักแฝงด้วยสำเนียงเยาะเย้ยอยู่สามส่วนยามเอ่ยจากปากของผู้อื่น จึงค่อยๆก่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้น (จากเดียวดายใต้เงาจันทร์ โก้วเล้งรำพัน)แม้ว่าผู้อ่านบางคนจะไม่รู้หรือจำชื่อเรื่องไม่ได้ แต่ก็สามารถจดจำชื่อตัวละครได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความสามารถของโก้วเล้งในการสร้างบุคลิกภาพของตัวละครได้หนักแน่นและใกล้ชิดกับจิตวิญญาณของผู้คน ตัวละครอย่าง ชอลิ้วเฮียง, ลี้คิมฮวง, เอี๊ยบไค, อาฮุย ต่างพากันโลดแล่นในจินตนาการของผู้อ่าน บ้างก็เติบโตมาพร้อมกันในโลกจินตนาการแม้ว่าโก้วเล้งจะออกตัวว่า แรงดลใจที่ทำให้เขาเขียนนิยายยุทธจักร ไม่ใช่หลักการเลิศหรูประการใด "เพียงแต่ต้องการหาเงินกินข้าวเท่านั้น" แต่โก้วเล้งก็เห็นว่า "นิยายกำลังภายในก็เป็นรูปแบบหนึ่งของนวนิยาย ที่มันสามารถดำรงอยู่ในปัจจุบัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีคุณค่าในการคงอยู่ของมัน"โก้วเล้งรู้สึกขื่นขมกับการเป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในของตนอยู่ตลอดเวลา เพราะในสายตาของคนส่วนใหญ่ นวนิยายกำลังภายในมิเพียงมิใช่วรรณกรรม กระทั่งไม่อาจนับเป็นนวนิยาย โก้วเล้งกล่าวว่า"เขียนนวนิยาย เขียนมา 20 ปีแล้ว นวนิยายที่เขียนเป็นเช่นไร? นวนิยายกำลังภายใน คือ นวนิยายชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่นวนิยาย ในสายตาผู้อื่น"โก้วเล้งให้ความหวังกับนักเขียนรุ่นใหม่ว่า "ความสำเร็จในอนาคตของพวกเขา ย่อมจะสูงกว่าข้าพเจ้าอย่างแน่นอน สูงกว่าสามหมื่นหกพันแปดสิบเท่า ขอเพียงพวกเขาสามารถจดจำถ้อยคำหนึ่งไว้ได้ เป้าหมายสูงสุดของการเขียนหนังสือคือ การสร้างสรรค์จากการเปลี่ยนแปลง"หลังจากปี 1975 งานเขียนของเขาถึงกับแย่ลง รูปแบบสไตล์การเขียนถูกลอกเลียนแบบโดยนักเขียนรุ่นใหม่ เมื่อสไตล์การเขียนแบบโก้วเล้งเสื่อมถอยหมดความนิยม ทำให้ความนิยมของนิยายกำลังภายในลดลงไปด้วย ชีวิตแต่หนหลังของโก้วเล้ง ขณะที่ผู้อื่นแบกกระเป๋าไปโรงเรียน ก็ระเหเร่ร่อนในยุทธจักรแล้ว ดังนั้นเมื่อมีเงินทองจากการเขียนหนังสือ จึงจับจ่ายราวก้อนกรวดไม่เสียดาย โก้วเล้งไม่ยอมอยู่เงียบเหงา ชมชอบคบหาสหายที่สุด ร้านอาหาร บาร์และตลาดโต้รุ่ง เป็นสถานที่ซึ่ง เป็นสถานที่ซึ่งโก้วเล้งมักไปเยี่ยม เยือนอยู่เสมอ อาศัยสุรานัดพบ อาศัยสถรานัดพบสหาย ผลจากการดิ่มสุราอย่างหนัก โก้วเล้งต้อง ล้มป่วยลงด้วยโรคตับแข็ง ม้ามโตและเลือดออกทางกระเพราะ แข็งออกโรคพยาบาลถึงสามครั้งสามครา ก่อนสิ้นใจไม่กี่วัน โก้วเล้งยังร่ำดื่มอย่างเต็มที่ เป็นเวลาสามวันสามคืน หวังให้ตัวเองเมามายพันปี โก้วเล้งกล่าวว่า หากอดสุรา กลับมิสู้ตาย นับเป็นการดื่มสุราครั้งสุดท้าย เท่ากับยุติชีวิตลงด้วยสุราอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 อายุได้ 48 ปี มีงานเขียนมากกว่า 80 เรื่อง

ไม่มีความคิดเห็น: